“ดาหลา” สู่ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย-ปรับผิวใส

ผศ.ดร.ดวงพร กล่าวว่า ดอกดาหลาเป็นดอกไม้ ในตระกูลขิงที่มีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอม ชาวบ้านโดยเฉพาะในภาคใต้นิยมนำมารับประทานเป็น อาหารในครัวเรือน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยดอกดา หลา พบว่า ฤทธิ์ชีวภาพจากสารสกัดดอกดาหลา คือ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรียและ เชื้อรา

วันจันทร์ ที่ 26 ธันวาคม 2559, เวลา 17:38 น.

แปรรูป “ดาหลา” สู่ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย-ปรับผิวใส

แปรรูป “ดาหลา” สู่ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย-ปรับผิวใส

ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรสิเนสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดจุดด่างดำ และไม่พบความเป็นพิษเมื่อทดสอบในเซล แต่ได้พบกลุ่มสารสำคัญที่พบมากจากดอกดาหลาและออกฤทธิ์ชีวภาพคือ สารประกอบฟีโนลิก (phenolic compounds) เช่น เคอร์ซิติน แทนนิน ฟลาวานอยด์ เทอร์พีนอยด์ นอกจากนี้ ดอกและเมล็ดดาหลาสดยังมีสารสำคัญชนิดสารประกอบฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบ และให้สารสกัดมีสีแดงสดมีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้าย ขิง และยังตรวจพบวิตามินซีจากดอกดาหลาอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรสหวิทยาการเกษตร สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำสารสกัดดอกดาหลาซึ่ง เป็นวัตถุดิบพื้นบ้านเพื่อไปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในเวชสำอาง หรือเพื่อความงามและช่วยปรับผิวให้ขาวกระจ่างใส จึงเป็นผลผลิตจากการแปรรูปสารสกัดสามารถใช้ประโยชน์จากดอกดาหลาได้ทั้งหมดโดยไม่มีของเหลือใช้ (zero waste) ที่สำคัญผลงานชิ้นนี้จึงมีความเป็นนวัตกรรมในด้านกระบวนการผลิตสารสำคัญที่มีฤทธิ์ชีวภาพในการบำรุงผิวหน้า

โดยกระบวนการสกัดนอกจากมี ราคาต้นทุนในการสกัดตํ่าแล้วยังใช้วิธีการที่ไม่มีสารตกค้าง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยเพิ่ม มูลค่าให้กับวัตถุดิบพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลเหรียญเงิน โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน 225 ผลงาน จาก 36 ประเทศ ที่เข้าประกวดในงานนวัตกรรมระดับ นานาชาติ ณ ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม2559 ที่ ผ่านมา

“ผลงานวิจัยที่ว่านี้ ทางนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรสหวิทยาการเกษตร สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนวิจัยจากโครงการทุน พัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ระดับปริญญาเอก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) จนได้ ผลิตภัณฑ์ความงามจากดอกดาหลา ในโอกาสนี้ขอขอบคุณการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งผลงานเข้าประกวดจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การช่วยเหลือทางวิชาการและส่งผลงานเข้าประกวดจากสมาคมส่ง เสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย (ATIP) ซึ่งจากที่ได้รับการสนับจากหน่วยงานเหล่านี้ ทำให้เรามีผลงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ และสามารถต่อย อดผลงานเชิงพานิชย์ สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน และประเทศชาติต่อไป” ผศ.ดร.ดร.ดวงพร กล่าว

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่