นักบิน”อัลฟ่าเจ็ต”ดีดตัวตกสวนยาง-เลือดท่วมระทึกไม่ทราบสาเหตุ

ระทึก จู่ๆนาวาตรีครูฝึกบินเครื่องขับไล่อัลฟ่าเจ็ตดีดตัวออกจากเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุโชคดีร่มชูชีพกางรอดชีวิตหวุดหวิดแต่ก็ไปเกี่ยวกับต้นไม้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยส่วนเครื่องลำที่เกิดเหตุเรือโทนักบินที่ 1 พากลับกองบิน 23 ได้ปลอดภัยทอ.เร่งสอบสาเหตุเผยประวัติเป็นฝูงบินที่ซื้อเครื่องปลดระวางจากกองทัพอากาศเยอรมนีมูลค่ากว่า 1.2 พันล้านบาทเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2543

ข่าวสด

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 11:07 น.

ภาพโดย ข่าวสด

ภาพโดย ข่าวสด

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 15 ก.พ. ร.ต.อ.มนัสวี บำรุงกิจ รองสว.(สอบสวน) สภ.นาดินดำอ.เมืองจ.เลยรับแจ้งเหตุจากศูนย์วิทยุ 191 จังหวัดเลยว่ามีนักบินกระโดดร่มลงมาระหว่างหมู่บ้านเจริญสุขบ้านทรัพย์มงคลต.นาดินดำจึงนำกำลังรุดไปตรวจสอบและค้นหาพร้อมพ.ต.อ.ณัฐกฤชคำวิเศษชัยผกก. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและเจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างคีรีธรรมจุดนาดินดำ

เจ้าหน้าที่กระจายกำลังค้นหากระทั่งพบน.ต.สุโขทัยศรีสมศัยนักบินที่ 2 เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (บจ.7) หรือเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตกองบิน 23 จ.อุดรธานีนอนอยู่บริเวณเนินเขาในสวนยางพาราห่างจากถนนสายบ้านนาดินดำ-ท่าสวรรค์อ.นาด้วงเข้าไปประมาณ 1 ก.ม. สภาพได้รับบาดเจ็บที่ตาข้างซ้ายในที่เกิดเหตุยังพบร่มที่นักบินกระโดดลงมาค้างอยู่ที่ต้นยางพาราจึงรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งรักษาต่อที่ร.พ.เลยส่วนเครื่องบินลำที่เกิดเหตุนักบินที่ 1 นำเครื่องกลับกองบิน 23 จ.อุดรธานีได้อย่างปลอดภัยส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบของกองทัพอากาศ

นายสังคม กันธรรม อายุ 51 ปีอยู่บ้านเลขที่ 182 ม.8 บ้านเจริญสุขต.นาดินดำเล่าว่าขณะกำลังตัดอ้อยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้ยินเสียงเครื่องบินบินผ่านซึ่งได้ยินเช่นนี้เป็นประจำปกติจะเห็น 2 ลำไล่กันมาแต่วันนี้ลำแรกบินผ่านไปลำที่สองทิ้งห่างผิดสังเกตจึงมองขึ้นไปดูกลับได้ยินเสียงระเบิดดังและมีร่มสีส้มลอยอยู่บนอากาศชวนเพื่อนบ้านวิ่งไปดูพบทหารที่บาดเจ็บจึงช่วยกันดังกล่าวห่างจากที่พบนักบินประมาณ 500 เมตรพบเบาะเก้าอี้นักบินตกลงในสวนยางใกล้กัน

ด้านน.อ.นิทัศน์ยูประพัฒน์ผู้บังคับการกองบิน 23 อ.เมืองจ.อุดรธานีเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปตรวจยังสถานที่เกิดเหตุและเดินทางไปเยี่ยมนักบินที่ประสบอุบัติเหตุกล่าวว่าทางกองบินมีการฝึกยุทธวิธีประยุกต์เป็นประจำโดยวันนี้ออกฝึกบิน 2 ลำเป็นเครื่องบินขับไล่อัลฟ่าเจ็ตลำที่เกิดอุบัติเหตุมีน.ต.สุโขทัยศรีสมศัยครูฝึกเป็นนักบินที่ 2 และร.ท.ภูริจุลพัลลภนักบินที่ 1 เป็นนักบินฝึกปรากฏมาถึงที่เกิดเหตุโดยไม่ทราบสาเหตุครูฝึกถูกเก้าอี้ดีดตัวออกมาตกลงบริเวณดังกล่าวส่วนนักบินที่ 1 ได้นำเครื่องกลับฐานที่จ.อุดรธานี

“หลังจากได้รับรายงานผมและคณะหลังจากได้รับรายงานเหตุเมื่อเวลา 11.15 น. จึงนำเครื่องออกค้นหาทันทีและทราบว่าชาวบ้านและหน่วยกู้ภัยได้ช่วยนักบินแล้วจึงเดินทางมาที่ร.พ.เลยเมื่อเวลา 12.30 น. และต้องขอขอบคุณชาวจังหวัดเลยทุกคนซึ่งยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้ต้องรอฝ่ายนิรภัยการบินจากกองทัพอากาศมาตรวจสอบในวันพรุ่งนี้ส่วนนักบินที่ประสบเหตุสามารถโต้ตอบรู้สึกตัวดีแพทย์รับตรวจดูอาการก่อนพิจารณาการรักษาต่อไป” น.อ.นิทัศน์กล่าว

น.อ.นิทัศน์กล่าวว่าเบื้องต้นทราบว่าร.ท.ภูริไม่รู้ตัวว่าในขณะที่นักบินที่ 2 ดีดตัวออกจากเครื่องเกิดอะไรขึ้นเพราะเขาเป็นนักบินที่นั่งอยู่ข้างหน้าและในขณะเกิดเหตุเป็นการฝึกบินยุทธวิธีโจมตีเป้าหมายและกำลังหนีออกจากเป้าหมายนักบินที่ 2 ก็ดีดตัวออกจากเครื่องสำหรับสาเหตุเกิดจากตัวเครื่องหรือนักบินนั้นหลักการสอบสวนจะไม่สามารถวิเคราะห์ได้เพราะจะเป็นการชี้นำชักจูงข้อมูลอยากให้รอทางคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อให้เกิดความชัดเจนขอสร้างความเข้าใจว่าอย่าเพิ่งวิเคราะห์กันเพราะส่วนใหญ่จะเป็นการคาดเดาแต่ไม่ได้ไปจับที่เครื่องมือจริงไม่ได้ไปดูเก้าอี้ของนักบินที่ 2 หรือเปิดเทปดูว่าเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นและหากคาดเดาออกไปจะทำให้ผิดทิศผิดทาง

“ผมได้รายงานด้วยวาจาให้กับพล.อ.อ. จอมรุ่งสว่างผบ.ทอ. ที่ติดภารกิจที่ประเทศเมียนมาให้รับทราบแล้วโดยท่านได้สั่งการให้หยุดการบินเพื่อให้ค้นหาสาเหตุความจริงก่อนที่จะออกปฏิบัติภารกิจต่อไปพร้อมทั้งได้ให้กำลังใจกับนักบินที่ได้รับบาดเจ็บและได้มอบหมายให้ผมดูแลนักบินเป็นอย่างดีส่วนอาการเบื้องต้นนักบินปลอดภัยแล้วแต่ยังต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง” น.อ.นิทัศน์กล่าว

วันเดียวกันที่บก.ทอ. พล.อ.ต.พงษ์ศักดิ์เสมาชัยโฆษกทอ. เปิดเผยว่าเมื่อเวลา 11.30 น. เกิดอุบัติเหตุนักบินที่ 2 ดีดตัวออกจากเครื่องอัลฟ่าเจ็ตที่กำลังอยู่ในภารกิจการฝึกบินทางยุทธวิธีขณะบินเหนือหมู่บ้านเจริญสุขท้องที่สภ.นาดินดำอ.เมืองเลยส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บขณะนี้นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้วล่าสุดอาการปลอดภัยดีส่วนนักบินที่ 1 นำเครื่องบินลำดังกล่าวมาลงที่กองบิน 23 จ.อุดรธานีอย่างปลอดภัยขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุว่าการดีดตัวของนักบินที่ 2 ครั้งนี้เกิดจากอะไรต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง

สำหรับเครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (บจ.7) หรือเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตเป็นเครื่องบินรบที่ฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือสร้างขึ้นตามแผนโครงสร้างกองทัพไทยปี 2540-2545 ทอ.ต้องปรับลดความต้องการกำลังรบจาก 36 ฝูงบินเหลือ 24 ฝูงบินเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ถูกตัดลงตามวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ

แต่ทอ.ยังมีเครื่องบินไม่เพียงพอที่จะใช้สนับสนุนภารกิจทางยุทธการตามแผนการปรับลดกำลังรบเพราะเครื่องบินที่กองทัพอากาศมีประจำการเช่นเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 (บ.จ.5) หรือเครื่องบินโอวี-10 บรองโกและเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (บ.จธ.2) หรือเครื่องบินเอยู 23 เอพีชเมกเกอร์จะครบอายุการใช้งานต้องปลดประจำการจึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่/โจมตีที่มีสมรรถนะเท่ากันหรือดีกว่ามาทดแทนเพื่อให้ตรงกับความต้องการของกำลังรบของทอ.

ในเดือนก.พ. 2542 กระทรวงกลาโหมเยอรมนีเสนอขายเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตให้ทอ.ในราคามิตรภาพเนื่องจากกองทัพอากาศเยอรมันปลดประจำการเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตเพื่อลดขนาดกองทัพและได้เก็บรักษาไว้ในสภาพดีตรงกับความต้องการจัดหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบินโอวี-10 บรองโกและเครื่องบินเอยู 23 เอพีชเมกเกอร์วันที่ 21 พ.ค.ปีเดียวกันรมว.กลาโหมในสมัยนั้นอนุมัติหลักการให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 50 เครื่องในลักษณะจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลโดยให้ใช้งบประมาณของทอ.ดำเนินการ

ต่อมาวันที่ 10 ส.ค.ปีเดียวกันครม.อนุมัติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ 25 เครื่องตามกำลังงบประมาณที่ทอ.สามารถสนับสนุนได้โดยให้ปรับเครื่องบินให้บินได้ตามมาตรฐานของเยอรมนี 20 เครื่องและเก็บไว้เป็นอะไหล่ 5 เครื่องวงเงินจัดซื้อ 62,430,250 ดอยช์มาร์กหรือประมาณ 1,286,562,592 บาทในการจัดซื้อครั้งนั้นได้จัดทำการค้าต่างตอบแทน (COUNTER TRADE) ตามมติครม.ด้วย

วันที่ 13 ส.ค.ปีเดียวกันผบ.ทอ.ในสมัยนั้นร่วมลงนามในข้อตกลงจัดซื้อเครื่องบินจำนวน 25 เครื่องกับเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ลงนามแทนรัฐบาลไทยว่าจ้างให้บริษัท FAIRCHILD DORNIER เป็นผู้ผลิตโดยกระทรวงกลาโหมเยอรมนีรับผิดชอบจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาควบคุมกำกับดูแลการปรับคืนสภาพเครื่องบินให้ได้มาตรฐานของเยอรมนีโดยบริษัท FAIRCHILD DORNIER ปรับคืนสภาพเครื่องบินรวมทั้งการฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแต่ละสาขาให้ซ่อมบำรุงเครื่องบินขั้นฝูงบินจำนวน 8 หลักสูตรรวม 70 คน

ทอ.รับมอบเครื่องบินชุดแรกจำนวน 5 เครื่องเมื่อเดือนก.ย. 2543 เข้าประจำการที่ฝูงบิน 231 กองบิน 23 จ.อุดรธานีและทยอยรับมอบจนครบ 20 เครื่องเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2544

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่