นักข่าว บีบีซี เผชิญโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีหลังนำเสนอข่าวในประเทศไทย

ภูเก็ต: เอเอฟพี รายงานนักข่าวชาวอังกฤษจากบีบีซี มีสิทธิ์รับโทษจำคุก 5 ปี ในเรือนจำประเทศไทย หลังทนายความยื่นฟ้องต่อศาลข้อหาหมิ่นประมาทและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากรายงานข่าวของนายเฮด ในกรณีการฉ้อโกงบนเกาะภูเก็ต

The Phuket News

วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 11:36 น.

นายโจนาธาน เฮด มีสิทธิ์รับโทษจำคุก 5 ปี ในเรือนจำประเทศไทย ภาพ BBC

นายโจนาธาน เฮด มีสิทธิ์รับโทษจำคุก 5 ปี ในเรือนจำประเทศไทย ภาพ BBC

โดยกลุ่มสิทธิพลเมืองพูดถึงกรณีนี้ว่าเป็นอีกคดีตัวอย่างล่าสุด ที่กฎหมายหมิ่นประมาทและอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ของไทย ได้ส่งผลถึงการปิดกั้นรายงานแนวสืบสวนของนักข่าวและเป็นการยากที่จะเผยแผ่การกระทำความผิดในประเทศที่การคอร์รัปชั่นนั้นเป็นเสมือนปัญหาเรื้อรังที่ยากจะแก้ไข

การฟ้องร้องเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2558 รายงานโดยนายโจนาธาน เฮด นักข่าวของสำนักข่าวบีบีซีประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้ทำการสังเกตการณ์ในกรณีที่นักท่องเที่ยวเกษียรอายุชาวต่างชาติ 2 คน ถูกหลอกเอาทรัพย์สินในภูเก็ต

ในวันที่ 23 ก.พ. 60นายเฮดปรากฏตัวที่ศาลจังหวัดภูเก็ต พร้อมกับนายเอียน แรนซ์ ผู้เป็นจำเลยร่วมในการฟ้องร้องครั้งนี้ เพื่อให้ปากคำ

โดยทนายผู้ยื่นฟ้องคดีนี้คือนายประทวน ธนารักษ์ ทนายความของภูเก็ต ที่มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข่าวของบีบีซีในกรณีการหายไปของทรัพย์สินมีค่าของนายแรนซ์

นายแรนซ์เกษียรอายุและย้ายมาอยู่มาภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ. 2544 แต่งงานกับผู้หญิงไทย มีลูกด้วยกัน 3 คน และได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อ้างไว้เป็นมูลค่าถึง 1.2 ดอลล่าร์หรือมากกว่า 40 ล้านบาท

สำนักข่าว เอเอฟพี รายงานว่า ภายใต้กฎหมายของไทย ชาวต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่หลายรายก็หลีกเลี่ยงข้อกำหนดนั้นโดยการครอบครองทรัพย์สินในชื่อของบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของหรือในชื่อของคนท้องถิ่นที่พวกเขาไว้วางใจ

ในปี พ.ศ. 2553 นายแรนซ์ พบว่า ภรรยาของเขาได้ทำการปลอมแปลงลายเซ็นของเขาเพื่อปลดเขาจากการเป็นกรรมการของบริษัทและขายทรัพย์สินทั้งหมดของเขา โดยผ่านการช่วยเหลือของเครือข่ายผู้ปล่อยเงินกู้และตัวแทนจัดการทรัพย์สินภายในเกาะภูเก็ต

ซึ่งในภายหลัง ภรรยาของนายแรนซ์ได้ถูกดำเนินคดีให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี จากข้อกล่าวหาฉ้อโกงดังกล่าว

นายเฮด นักข่าวของบีบีซีรายงานว่า นายประทวนซึ่งเป็นทนายความในคดีนี้ยอมรับว่าได้ทำการเซ็นรับรองลายเซ็นของนายแรนซ์ , เจ้าของลายเซ็น, โดยที่เขาไม่ได้ ปรากฏตัวต่อหน้าในขณะนั้น

โดยรายงานข่าวของสำนักข่าว เอเอฟพี ระบุว่า นายประทวนยื่นฟ้องในคดีหมิ่นประมาท ซึ่งสิ่งที่เขาถูกกล่าวหานั้นส่งผลให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามและถูกเกลียดชัง ตามสำเนาของจดหมายร้องทุกข์

นายแรนซ์และนายเฮด เจอข้อหาหมิ่นประมาทซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกเป็นเวลา 2 ปี และนายเฮดนั้นยังต้องเจอข้อกล่าวหาเพิ่มเติม คือความผิดภายใต้ พรบ. คอมพิวเตอร์ ที่มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี

หนังสือเดินทางของนายเฮด ได้ถูกศาลยึดเอาไว้ ส่งผลให้ นายเฮด ไม่สามารถทำงานประจำในภูมิภาคเอเชียได้ ซึ่งเขาเองก็ได้สู้คดีเป็นเวลากว่า 2 ปี

ในคำแถลงเกี่ยวกับคดีนี้ บีบีซีได้กล่าวว่า “ยืนเคียงข้างผู้สื่อข่าวของบีบีซี” และบีบีซี “เรามุ่งหมายที่จะลบล้างความผิดให้กับนักข่าวของเรา”

-AFP-

 

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่