เซเซ โนเบร กับชีวิต ศิลปะ และคานิบาล

ใบหน้าอันโอฬารที่ระคนด้วยความสงสัยของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองทั้งสามกำลังจ้องมองมาที่ผมจากอีกฟากของผนังตึกและเรียกร้องความสนใจให้หันไปมองในขณะที่ผมเดินอยู่ใน United World College Thailand ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต เพื่อพบกับเซเซ โนเบร เจ้าของภาพวาดที่ผมเพิ่งเดินผ่านมา

Mark Knowles

วันอาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน 2560, เวลา 15:00 น.

เซเซเป็นศิลปินแนวสตรีทอาร์ทและจิตรกรฝาผนังชาวบราซิล-อเมริกัน บุคลิกเรียบง่ายของเขาทำให้เขาใช้เวลากับเด็กๆได้อย่างมีความสุขในฐานะครูสอนศิลปะที่โรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพ เขาได้รับเชิญมายัง UWCT เพื่อเติมแต่งสีสันให้กับโรงเรียนโดยแซนดี้ พอร์ตเทอร์ ผู้คลั่งใคล้ในศิลปะและที่สำคัญเธอได้ส่งลูกมาเรียนยัง UWCT ด้วย

เซเซเล่าให้เราฟังถึงเส้นทางการเป็นศิลปินของเขาว่า “ผมเกิดที่บราซิล แม่ผมเป็นชาวบราซิลและพ่อเป็นชาวปารากวัย แต่ผมเติบโตมาในสหรัฐอเมริกาและถูกเลี้ยงมาในรูปแบบบราซิล ฉะนั้นผมจึงขอนิยามตนว่าเป็นคนบราซิล”
ชีวิตวัยเยาว์ของเซเซมลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ไม่ได้สวยหรูนัก เนื่่องจากส่วนมากแล้วเขาถูกเลี้ยงดูโดยแม่และมีความรู้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับความเป็นมาของพ่อชาวปารากวัยของเขา เขาจึงมีความกระหายใคร่รู้ในเรื่องการขวนขวายเรื่องรากเหง้าเผ่าพันธุ์อเมริกาใต้ “ผมรู้ว่าผมแตกต่าง แต่ผมไม่รู้แน่ชัดว่าผมต่างอย่างไร เมื่อผมยังเด็ก ผมหมกมุ่นกับแผนที่ ลูกโลก ภูมิศาสตร์ และเนชันแนล จีโอกราฟฟิค ผมอยากรู้วัฒนธรรมเสมอ เมื่อผมเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยและผมกลายมาเป็นจิตรกรและผมก็วาดภาพเรื่อยมา”

ผลงานของเซเซที่ UWCT นั้นส่วนมากจะประกอบไปด้วยชนเผ่า ภาพวาดเหมือนระยะใกล้ ภาพคนพื้นเมือง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของชนเผ่าต่างๆ เซเซค้นพบเสน่ห์จากวัฒนธรรมและผู้คนที่พวกเขาได้พบเจอในชีวิตและทำให้เขาตัดสินใจเรียนสาขามานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย
“สิ่งที่ดึงดูดผมได้นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ความเป็นพื้นเมือง แต่ผมยังสนใจวัฒนธรรมของจีนและเปอร์เซียด้วยเพราะวัฒนธรรมเหล่านี้นั้นแข็งแกร่งและมีประวัติยาวนาน”

“ก่อนหน้านี้ผมไม่มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับเรื่องศิลปะเลย ผมไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะกลายมาเป็นจิตรกร แต่มันเกิดขึ้นหลังจากที่ผมเรียนจบเพราะตอนนั้นผมรู้สึกอยากทดสอบตัวเองว่าผมจะวาดภาพได้ไหม” เขากล่าว

หลังเรียนจบ เซเซย้ายไปอยู่ที่ประเทศปารากวัยและรู้สึกเหมือนได้ก้าวหยั่งลึกลงสู่รากเหง้าสายเลือดของตนและได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆนอกสหรัฐ เขาเริ่มวาดภาพโดยใช้สีและอุปกรณ์ราคาถูกที่เขาเก็บได้จากริมถนน

“ผมเช่าอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในปารากวัยหลังจากเรียนจบ ตอนนั้นผมอายุ 22 ปี ที่นั่นมีผนังเปลือยอยู่ และมันทำให้ผมรู้สึกว่าผมต้องทำอะไรกับมันสักอย่าง ผมรู้สึกผ่อนคลายมาก ผมเริ่มลงพื้นและมีความสุขกับมากมันหลังจากได้เริ่มปัดแปรง ผมเริ่มวาดรูปและเริ่มลงสี ในปารากวัย ผ้าใบสำหรับวาดรูปนั้นมีราคาแพงมาก ดังนั้นผมจึงชอบเดินไปตามถนนเพื่อเก็บเศษไม้ที่ผู้คนโยนทิ้ง หรือกรอบรูปเก่าๆ ผมนำมันกลับมาบ้าน ทำความสะอาดและวาดภาพลงไป”

จากนั้นเซเซตัดสินใจย้ายกลับไปวอชิงตันดีซีในสหรัฐ ที่ที่เขาได้รับเงินตอบแทนครั้งแรกจากการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ตอนนั้นมีการจัดงานศิลปะของชุมชนท้องถิ่นขึ้นและเขาเป็นศิลปินที่ได้ถูกรับเลือกให้วาดภาพบนผนังขนาดใหญ่ในละแวกบ้านเขา

“ผมไม่เคยมีประสบการณ์การวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังมาก่อนเลย ผมใช้สีอะคริลิคแล้วก็ทิ่มพู่กันลงไป ผมใช้เวลาตรงนั้นนานมาก ประมาณ 2 เดือนกว่าจะเสร็จ ผมรู้สึกไร้เดียงสามากในตอนนั้น ผมคิดว่าตอนนั้นผมทำได้เพียงแค่ทาสีผนัง ตอนนั้นผมไม่รู้ว่าจะได้รับเงินด้วย มีชายคนหนึ่งมอบเช็คให้กับผมเมื่องานจบลง มันเป็นเงิน $1,475 เหรียญสหรัฐ ซึ่งมันเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตัวผมเองเป็นอย่างมาก”

จากนั้นเซเซจึงตัดสินใจย้ายไปที่บราซิล ที่ที่เป็นรากเหง้าของเขา และได้เข้าไปเสี่ยงดวงที่ย่านสลัมแห่งหนึ่งในเมืองหลวงรีโอเดอจาเนโร

“ผมเพิ่งได้รับค่าตอบแทนจากงานของผม ผมจึงย้ายไปที่ริโอ เพื่อที่จะศึกษาศิลปะการพ่นผนังในสลัม”
“ผมติดต่อไปหาเพื่อนคนหนึ่งที่ทำงานกับ NGO ในย่านสลัมของรีโอ เขาเป็นคนบราซิลและเขาเป็นนักวาดด้วย เขาบอกว่า ‘มาเลย คุณมาอยู่กับผมก็ได้’ ผมจึงตอบตกลง”

บราซิลนับว่าเป็นสวรรค์สำหรับศิลปินริมถนนและวัฒนธรรมพ่นผนัง ระยะเวลา 6 เดือนที่เขาใช้ได้เป็นแรงบันดาลใจในการใช้สีสันของเขาผสมกับปรัชญา “แม้ว่าในบราซิลจะมีศิลปะการพ่นผนังให้เห็นอยู่ละลานตาเช่นการพ่นชื่อหรืออะไรทำนองนั้น แต่มันดูมีความเป็นศิลป์มากๆ มันเป็นเหมือนศิลปะการวาดภาพประกอบและการวาดภาพคนเหมือนสิ่งที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้”

“ในบราซิลนั้นจะมีปรัชญาอยู่อย่างหนึ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมการกินคน ในช่วงก่อนยุคล่าอาณานิคมนั้นมีวัฒนธรรมการกินคนเกิดขึ้นมาก่อน มันเป็นความเชื่อว่าถ้าหากคุณต้องรบรากับใครคุณต้องสังหารนักรบที่แข็งแกร่งที่สุดของฝั่งตรงข้ามและทุกคนในหมู่บ้านจะกินชิ้นส่วนร่างกายของเขาเพื่อทำลายความเคารพที่มีต่อเขา”

กวีบราซิลเลียนสมัยใหม่ ออสวอลด์ เดอ อานดราจี เป็นคนแรกที่หยิบยกสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อถกเถียงว่าวัฒนธรรมการกินคนของบราซิลนั้นเป็นความแข็งแกร่งที่ประเสริฐที่สุด มันเป็นหนทางที่บราซิลใช้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ในการต่อต้านการปกครองในยุคล่าอาณานิคมของยุโรป
เซเซยังพบว่าวัฒนธรรมการกินคนในผลงานของเขาที่สร้างสรรค์ขึ้นได้อย่างดีเยี่ยมไปกับการผสมผสานกับวัฒนธรรมและศาสนาในเมืองไทยที่มีทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู ความเชื่อเรื่องวิญญาณที่ได้ซึมซับและรวมเป็นผืนเดียวกันในวิถีชีวิตของคนไทย

เซเซบอกว่า แนวคิดของวัฒนธรรมการกินคนนี้ได้ฝังลึกเข้าไปในจิตใจของเขา นอกจากนี้มันยังสร้างแรงบันดาลใจในกับการวาดภาพของเขาเหมือนการเพาะเมล็ดลงไปในมุมมองศิลป์ของตัวเขาเองเพื่อที่จะรังสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่มีแรงบันดาลใจมาจากประเพณีหลากหลายรูปแบบ วัตถุต่างๆ เครื่องประดับ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรวมไปถึงตึกรามบ้านช่อง
“แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังผลงานของผมคือวัฒนธรรมที่เรียกว่า “คิลมบู” และแผนของผมคือการเผยแพร่สิ่งนี้ผ่านการสร้างผลงานศิลปะ ผมต้องการเส้นทางใหม่ๆในการเข้าถึงศิลปะและเพื่อขยายการสื่อสารผ่านภาพวาดที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มันทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของผมคงความสดใหม่อยู่ตลอด”

“ในช่วงนี้ผมรู้สึกสนใจในด้านสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก ผมอยากประดิษฐ์โครงสร้างสักอันเพื่อที่จะหลอมรวมแนวคิดทุกๆอย่างที่มีต่อศิลปะของผมลงไป และดูเหมือนภูเก็ตกำลังจะเป็นสถานที่ที่ผมอยากมาบ่อยๆเพื่อสร้างผลงาน ไม่แน่ผมอาจจะย้ายมาอยู่ที่ภูเก็ตก็ได้ ผมมีครอบครัวแล้วในตอนนี้ เมื่อก่อนผมเคยสนใจกรุงเทพ โดยเฉพาะชีวิตกลางคืน แต่ตอนนี้ผมหมดความสนใจไปแล้ว”

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นผลงานของเซเซในภูเก็ตมากขึ้นเพื่อเราจะได้รับชมผลงานแนวสตรีทสไตล์มากขึ้นในภูเก็ต รับชมผลงานของเขาได้บนโซเชียลมีเดีย ดังนี้ facebook.com/islandofkilombu or instagram.com/island_of_kilombu หรือติดต่อซื้อผลงานของเซเซได้ที่อีเมล cecenobre@gmail.com

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่