บุษราคัมลํ้าค่าที่ป้องด้วยหนามแหลม ซ่อนพิษร้าย สร้างสรรค์หลายเมนูทั่วโลก

อาหาร - ยามสายของวันเสาร์ที่ผ่านมา ฉันตื่นนอนด้วยความเหนื่อยล้า จากการทํางานตลอด 5 วัน จากนั้นจึงออกไปรับประทานอาหารเช้า กับเพื่อนที่ร้านใกล้บ้าน ระหว่างรออาหาร “เดวิด” เพื่อนของเพื่อน ฉันมาร่วมโต๊ะอาหารเช้ากับพวกเรา

เปรมกมล เกษรา

วันเสาร์ ที่ 16 ธันวาคม 2560, เวลา 16:00 น.

จากนั้นก็ได้ถามไถ่ถึงสารทุกข์สุขดิบ เดวิดบอกกับเราว่า วันนี้เขาจะไปงมหาหอยเม่นที่หาดยะนุ้ยเพื่อนํามาผัดกับสปาเกตตี้ หูฉันผึ่งขึ้นมาทันทีที่ได้ยินคําว่า “หอยเม่น” เพราะเป็นอาหารจานโปรดของฉันที่หารับประทานได้ยากและไม่เคยรู้มาก่อนว่าที่ภูเก็ตนั้นมี หอยเม่นให้งมโดยที่ไม่ต้องลงเรือไปไหน เมื่อได้ยินอย่างนั้น จากความ ง่วงและเหนื่อยล้ากลับกลายมาเป็นความตื่นเต้นเหมือนเด็กน้อยที่พ่อแม่บอกว่าจะพาไปสวนสนุก

หลังมื้ออาหารเช้า ฉันกลับบ้านไปเปลี่ยนเป็นชุดไปทะเล และนัดเจอกับเพื่อนที่หาดยะนุ้ย ฉันถึงกับต้องทึ่งในความจริงจังของเพื่อน เพราะเดวิดมาในชุดนักประดานํ้าพร้อมตีนเป็ด คีมคีบขนาดใหญ่ (เพื่อ คีบหอยเม่น) กระเป๋าพลาสติกและถังใบเขื่อง เราปีนป่ายลัดเลาะโขดหินที่หาดยะนุ้ยเพื่อไปยังบริเวณที่อยู่อาศัย ของหอยเม่น จากนั้นเดวิดก็ค่อยๆ ลงนํ้าและดําลงไปงมหอยเม่น เดวิด หายลงไปในนํ้าไม่นานก็โผล่ขึ้นมาและยื่นกระเป๋าพลาสติกพร้อมด้วย หอยเม่นตัวยักษ์

เราต้องเทหอยลงในถังอย่างระมัดระวังเนื่องจากหอยเม่นมีหนามแหลมและเป็นพิษ ซึ่งทําให้เจ็บปวดไม่น้อย เดวิดกลับลงไปในนํ้าอีก ครั้งและขึ้นมาใหม่อยู่หลายรอบจนกว่าจะได้หอยเม่นที่พอเพียง จากนั้นเราจึงหิ้วถังสีฟ้าบรรจุไปด้วยหอยเม่นสีดํากลับมาที่หาด ผู้คนที่ชายหาดทั้งไทยและต่างชาติเดินมามุงดูถังของเราหลายคน และถามว่านี่คืออะไร เอาไปทําอะไร กินได้ด้วยหรือ กินอย่างไร

เรากลับบ้านมาและใส่ถุงมือเพื่อแกะเอาหนามหอยเม่นออกให้หมด และค่อยๆ ใช้ช้อนกระเทาะรอบๆ เปลือกหอย และนําเนื้อหอยออกมาแช่นํ้าทะเลเพื่อคงความสด ต่อด้วยทุบกระเทียมใส่ลงไปเพื่อดับกลิ่นคาว จากนั้นตั้งหม้อนํ้าร้อน เหยาะนํ้ามันพืชและเกลือลงนิดหน่อย เมื่อนํ้า เดือดก็โยนเส้นสปาเกตตี้ลงไป รอจนได้ความนุ่มที่พอดี ตักเส้นขึ้นมา แช่ในนํ้าเย็นเพื่อไม่ให้ความร้อนทําให้เส้นสุกกว่าเดิม ตั้งกระทะ เทนํ้ามันมะกอกลงไป ตามด้วยกระเทียมทุบ โยนเส้นสปาเกตตี้ลงตามด้วยเนื้อหอยเม่นพระเอกของเรา คลุกเคล้าทุกอย่างลงบน กระทะจนทุกอย่างเริ่มเข้ากันและกลายเป็น เนื้อครีมอย่างน่ามหัศจรรย์ จากนั้นก็ลงมือ หมํ่ากันได้เลย!

ย้อนไปถึงครั้งแรกของการลองกิน “ไข่ หอยเม่น” ของฉัน คือเมื่อ 6 ปีที่แล้วที่ร้าน ซูชิแห่งหนึ่งในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ฉันกับเพื่อนที่เคยเรียนไฮสคูลด้วยกันมีนัดทานข้าวหลังจากที่ไม่ได้ เจอกันมากว่า 4 ปี และที่ร้านซูชิแห่งนั้นมี เมนูซูชิไข่หอยเม่น หรือ “อูหนิ ซูชิ” อยู่ใน เมนู ด้วยความที่ฉันชอบกินของแปลก ฉันจึงสั่งโดยไม่ต้องคิดมาก และได้พบกับ ประสบการณ์แห่งการกินแบบใหม่ในชีวิต ฉันหลงรักไข่หอยเม่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต้องลิ้มลองทุกครั้งที่มีโอกาส เนื้อของไข่หอยเม่นนั้นมีสีเหลืองสด รสชาติหวานปนเค็ม ลักษณะคล้ายครีมและมีกลิ่นทะเลเล็กน้อย

ฉันเริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมันทั้งเรื่องต้นกําเนิด แหล่งที่อยู่ ความหลากหลายของวิธีการกินไข่หอยเม่นทั่วโลก จน ทราบว่านอกจากการนํามาทําเป็นซูชิ หรือข้าวหน้า ไข่หอยเม่น (uni-don) แบบฉบับญี่ปุ่นแล้ว ชาว อิตาลียังนํามาผัดกับสปาเก็ตตี้ ส่วนชาวชิลีนํามาทําเป็นยําไข่หอยเม่นโดยสับใบพาร์สลีย์ หัวหอม คลุก เคล้าเข้าด้วยกัน ราดนํ้ามะนาวและเหยาะนํ้ามัน มะกอก เป็นอันเสร็จพิธี ฉันอ่านไป พลางนํ้าลายไหลไป ต้องเก็บหอมรอมริบเงินมากแค่ไหนถึงจะได้เดินทางไปกินทุกเมนู แบบนี้ได้ กระทั่งลองมาค้นคว้าข้อมูลเป็นภาษาไทย จึงได้รู้ว่าที่เกาะสมุยเขาก็กินไข่หอยเม่นเหมือนกัน

รู้อย่างนั้นแล้วจะรออะไร ฉันหาวันหยุด เก็บกระเป๋า ขับรถ ลงเรือข้ามเกาะไปลองชิมถึงถิ่น โดยเมนูหอย เมนูแบบฉบับเกาะสมุยนั้นมาในรูปแบบยํามะม่วงดิบรสชาติเปรี้ยวจี๊ด เคล้าผสมกะปิ ซอยหอมแดงลง ไปแล้วคลุกกับไข่หอยเม่น หรือบางคนก็จิ้มนํ้ามะนาวสดๆ แต่ไข่หอยเม่นในประเทศไทยนั้นจะมีสีคลํ้าและรสชาติอ่อนกว่าของญี่ปุ่นที่ฉันเคยลิ้มลอง แบบจุใจที่เมืองโอซาก้ากับเมนูข้าวหน้าไข่หอยเม่นที่ โปะไข่มาแบบเต็มๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นไข่หอยเม่น ที่ไหนฉันก็ชอบทั้งนั้น เพราะสําหรับฉันแล้ว การเดินทางที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือการเดินทางเพื่อไป ลิ้มลองรสชาติอาหารแปลกใหม่ ชีวิตคนเราสั้นนัก จงเปิดใจเพื่อรับสิ่งต่างๆ ให้ตัวเองได้เรียนรู้ได้มาก ที่สุด เพื่อจะไม่ต้องเสียดายที่ได้เกิดมา

ทั้งนี้ สําหรับบางท่านที่อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การรับประทานหอยเม่น ฉันเองได้ทําการศึกษามา นิดหน่อยและก็ได้พบว่า เว็บไซต์ของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ได้ให้ข้อมูลระบุว่า การทํา อันตรายต่อหอยเม่นนั้นไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย เนื่องจากหอยเม่นมิได้เป็นสัตว์คุ้มครอง นอกจากนี้ ยังได้อธิบายอีกว่า หอยเม่น (sea urchin) เป็นสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในวงศ์เดียวกับพวกปลิงทะเล ปลาดาว หอยเม่นพบอยู่ทั่วไปในแนวปะการัง มีบทบาทสําคัญในระบบนิเวศแนวปะการัง

กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่หากินโดยการครูดไถสาหร่ายตะไคร่ที่ขึ้น บนซากปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นการลดปริมาณ สาหร่ายตะไคร่มิให้มีมากเกินไป เป็นการเปิดพื้นที่ ว่างบนผิวซากปะการังให้ตัวอ่อนปะการังได้ลงยึดเกาะเพื่อเจริญเติบโต และเกิดการฟื้นตัวของแนว ปะการังขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่ในกรณีที่แนวปะการังมีปริมาณหอยเม่นมากเกินไป จนเกินสมดุลธรรมชาติ ซากปะการังจะสึกกร่อนกลายเป็นผงทราย ทําให้แนวปะการังนั้นขาดพื้นแข็งสําหรับการลงยึดเกาะของตัวอ่อนปะการัง การฟื้นตัวของแนว ปะการังจะเกิดขึ้นได้ยาก หอยเม่นมีหนามแหลมคมไว้ป้องกันตัวเอง ปกติ แล้ว หอยเม่นมีศัตรูที่เป็นผู้ล่า คือปลาประเภทที่มี ฟันเป็นแผ่นหนาแข็งแรง เช่น ปลาวัว ซึ่งสามารถ กัดกินหอยเม่นได้ตามธรรมชาติ

ข้อมูลอ้างอิงจาก: www.dmcr.go.th/ detailAll/13730/nws/87/

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่