บทบาทของการศึกษาปฐมวัย ‘ความสำคัญแห่งการวางรากฐานอันมั่นคง’

มุมการศึกษา - “คนฉลาดสร้างบ้านบนหิน” บทเพลงก็กล่าวไว้อย่างนั้น และแน่นอนว่า คนที่มีความรู้ความสามารถด้านการก่อสร้างจะรู้ถึงความสำคัญของการวางรากฐานที่มั่นคง ส่วนที่สามารถมองเห็นได้เหนือพื้นดินอาจจะได้รับคำสรรเสริญและการยอมรับ แต่มันจะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย หากไม่มีการสนับสนุนจากส่วนของรากฐาน

วันเสาร์ ที่ 17 มีนาคม 2561, เวลา 16:00 น.

เช่นเดียวกับการศึกษา และนั่นคือบทบาทของ “การศึกษาปฐมวัย” สำหรับกลุ่มนักการศึกษาเองจะไม่มีข้อสงสัยเลยเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญของการศึกษาปฐมวัย ซึ่งแน่นอนว่าสภาพแวดล้อมของครอบครัวมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อพัฒนาการในวัยเด็ก (และภายหลัง) แต่ดังที่ยูนิเซฟได้ชี้ให้เห็นว่า “เด็กที่ได้รับการสนับสนุนในช่วงปฐมวัย จะประสบความสำเร็จมากขึ้นที่ในรั้วโรงเรียน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่พวกเขาจะมีงานและรายได้ที่สูงกว่า สุขภาพที่ดีกว่า และพบว่าระดับการพึ่งพาสวัสดิการภาครัฐและอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโอกาสที่ดีในช่วงต้นของชีวิต” (https://www.unicef.org/earlychildhood/index_40748.html)

สาระสำคัญของการศึกษาที่ดีในช่วงปฐมวัยคือการเล่น การเล่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็ก หนึ่งในความผิดหวังที่ยิ่งใหญ่ของครูสำหรับเด็กเล็ก คือการได้ยินคนบ่นว่า “พวกเขาแค่เล่นกันตลอดทั้งวัน!” การเล่นเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ในขณะที่พวกเขาเล่นกันหมายความว่าเด็ก ๆ กำลังสำรวจโลกรอบตัวและความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับโลกใบนี้ มันช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถทางกายภาพ กระบวนการคิด ความรู้ความเข้าใจทางภาษาและอารมณ์ของเด็ก และยังพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของพวกเขาอีกด้วย เพื่อความเข้าใจความหมายดังกล่าว ได้มีการมุ่งเน้นในโลกการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ‘ทักษะศตวรรษที่ 21’ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกลยุทธ์ 3Cs คือในด้านการสื่อสาร ความร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเหล่านี้เป็นทักษะการพัฒนาผ่านการเล่นในช่วงปฐมวัยทั้งสิ้น เด็กในกลุ่มอายุที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมากจากช่วงปฐมวัย

บทบาทของครูสำหรับเด็กเล็กคือการส่งเสริมให้เด็กเล่น ไม่เพียงแค่การเปิดโอกาสเพื่อให้เด็กได้เล่น แต่มีอะไรมากกว่านั้น ครูเด็กเล็กที่มีทักษะจะเลือกโอกาสในการเล่นเพื่อแนะนำเด็กเพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยให้พวกเขาเล่นเป็นกลุ่ม คนเดียว หรือทั้งชั้นเรียน ครูเด็กเล็กที่มีทักษะจะถักทอทักษะต่าง ๆ เช่น การเรียงลำดับ การนับ และการฝึกเขียนในช่วงเริ่มเรียนรู้ พวกเขาจะรับเอาความรู้ใหม่ของคำศัพท์ เช่น วันของสัปดาห์ เดือนของแต่ละปี และสภาพอากาศ พวกเขาจะแนะนำเด็ก ๆ ได้รู้จักกับตัวอักษรและการออกเสียง ทั้งยังแนะนำเด็ก ๆ ในเรื่องต่าง ๆ และบทกวี เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นในการอ่าน พวกเขายังจะกระตุ้นให้เด็กพัฒนาความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสังคม รู้ว่าเมื่อใดต้องเข้าไปแทรกแซง และเมื่อใดควรถอยห่างออกมา

นายเคน เพจ หัวหน้าแผนกประถม โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต กล่าวว่า “หลักปรัชญาส่วนตัวของผม เกี่ยวกับโรงเรียนที่ดีเป็นสถานที่แห่งความสุข คือที่ที่ทุกคนมีความปลอดภัย ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และสนับสนุนการเรียนรู้โดยมีเหตุผลและมีหลักฐานสนับสนุน ด้วยการวางแผนที่ดีในช่วงปฐมวัย ที่ดูได้จากความสุขสนุกสนานของพวกเขา

เป็นได้มากกว่าเกม

คำว่า เล่น เป็นคำที่แปลก ยิ่งไปกว่านั้น คำคำนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นคนแปลกหน้าเมื่อนำมาใช้กับการศึกษา เป็นคำที่ทำให้พ่อแม่หลายคนหวาดกลัว เพราะไม่มีใครอยากจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อการเล่น และทั้งหมดนี้คือ เด็ก ๆ ไม่สามารถเล่นได้ที่บ้านได้หรือ และไม่ใช่คำว่า ‘การเล่นเป็นพื้นฐานการศึกษา’ ขัดแย้งในตัวมันเองหรอกหรือ เราไม่ควรแยก “การเล่น” ออกจากชีวิตหรือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเด็ก ๆ เล่นพวกเขาได้ฝึกประสบการณ์ชีวิตจริง และได้เห็นในโลกที่ผู้ใหญ่มองเห็น พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ พวกเขาทดลอง พวกเขาเลียนแบบ เล่น คือ ‘ชีวิต’ ในความหมายของตัวมันเอง ลดระดับสู่ความเหมาะสมและเหมาะสมกับสมองของเด็ก สมองของพวกเขาได้รับการออกแบบทางพันธุกรรมให้ใช้การเล่นเป็นการซ้อม หากมีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า หลากหลายมากกว่า และโครงสร้างของบรรยากาศในการเล่นที่ดีกว่าแล้วละก็ ถือเป็นการเตรียมตัวที่ดีเพื่อช่วงชีวิตต่อจากนี้ของพวกเขา - นีล ริชาร์ดส์ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต

- Kenneth Page

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่