เปิดขุมสมบัติย้อนอดีต ภายในร้านขายของโบราณภูเก็ต

คุณอาจเคยขับรถผ่านร้านChan's Antiqueซึ่งเป็นร้านในรูปแบบบ้านไม้รูปแบบไทย ตัวบ้านถูกล้อมรอบไปด้วยเหล่าพันธุ์ไม้สีเขียวบนถนนบายพาส มาหลายร้อยครั้งเหมือนผม และเมื่อขับรถผ่านคุณมักจะถามตัวเองว่า “เราควรหยุดรถเพื่อที่จะเข้าดูในร้านนะว่ามีอะไร แต่ไม่ดีกว่ากำลังรีบอยู่”

วันอาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2560, เวลา 09:00 น.

ในที่สุดความอยากรู้อยากเห็นก็เอาชนะผมได้ ผมขับรถออกมาจากการจราจรอันแสนจะวุ่นวาย และมุ่งตรงไปยังร้านที่มีสวนที่เงียบสงบแห่งนั้น ผมเดินผ่านเข้าไปตรงประตูทางเดิน ผ่านรูปแกะสลักพระพุทธรูปสมัยโบราณ ศาลพระภูมิไม้สักที่แกะสลักอย่างประณีต และระฆังวัดทองแดงขนาดใหญ่ แล้วเสียงการจราจรแสนวุ่นวายก็ค่อยๆจางหายไป และตอนนั้นเองผมรู้สึกเหมือนผมกำลังเดินเข้าวัด

ซึ่งผมก็ไม่แปลกใจที่ผมรู้สึกแบบนั้น เมื่อผมพบว่าภายในร้านมีห้องมากมายยื่นไปตามส่วนต่างๆของอาคาร ประกอบไปด้วยพระพุทธรูป และงานแกะสลักในรูปแบบเอเชียจากไม้สัก, หินอ่อน, หินอื่นๆ, และงานเครื่องเงินและทองแดงอย่างปราณีต นับหลายร้อย หลายพันชิ้น

วันนั้น ผมเองโชคดีที่ได้พบกับคุณอลิสสา ซิม ทายาทเจ้าของร้าน ซึ่งพ่อแม่ของเธอได้ก่อตั้งร้านนี้ และเป็นเจ้าของธุรกิจนี้มากว่า 33 ปี เธอนั่งพูดคุยกับผมอย่างเป็นกันเอง เราพูดคุยกันเรื่องประวัติความเป็นมาของการบริหารธุรกิจในครอบครัวของเธอ กับเวลาหลายปีที่สิ่งของน่าสนใจมากมาย ถูกเก็บสะสมไว้ภายในร้านแห่งนี้

แล้วผมก็ได้พบว่า พ่อของอลิสสาสร้างธุรกิจนี้ขึ้นมาด้วยความยากลำบาก โดยเริ่มต้นจากการสร้างร้านเล็กบนถนนรัษฎาในเมืองภูเก็ต ก่อนจะกลายเป็นร้านเก็บสะสมของเก่าที่ใหญ่ที่สุดในภูเก็ตแบบทุกวันนี้ และกลายเป็นร้านที่มีของโบราณทรงคุณค่ามากมาย จากทั่วเอเชีย

“เราเริ่มต้นโดยการขายสิ่งทอ งานไม้แกะสลัก และงานฝีมือต่างจากภาคเหนือ และในตอนนี้ฉันสามารถพูดได้เลยว่า เราคือ 1 ใน 5 ของร้านเก็บสะสมของเก่าในประเทศไทย” อลิสสา กล่าว

ชื่อร้านถูกตั้งตามชื่อของคุณพ่อของอลิสสา “คุณชาญ” ที่เดิมทีทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง และได้ใช้เส้นสายที่เขามีอยู่ในการเริ่มนำเอาสินค้าจากทางภาคเหนือลงมายังที่นี่ ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก เนื่องจากความช่วยเหลือจากเพื่อนผู้ร่วมธุรกิจ เขาเริ่มที่จะนำสิ่งของโบราณและงานฝีมือจากทางภาคเหนือและเมียนมามายังภูเก็ต เพื่อตอบสนองความต้องการของที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว

“เพื่อนของพ่อเข้ามาช่วยเหลือด้วยการนำเอาของโบราณมาส่งให้ที่ร้าน เพราะในตอนนั้นยังไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อของโบราณได้ และของเก่าเหล่านั้นถูกขายออกไปอย่างรวดเร็ว และได้ราคาดีด้วย ทำให้พ่อคิดได้ว่านี่คือธุรกิจที่ดีที่เราจะต้องทำ” อลิสสา กล่าว

เริ่มต้นจากร้านเล็กๆในเมืองภูเก็ต ธุรกิจก็เริ่มขยายตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มขยับขยายไปยังพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 นายชาญได้ตัดสินใจสร้างอาคารตามความตั้งใจของเขา นั่นก็คือร้านชาญส์ แอนทีค แบบในทุกวันนี้ นอกจากนี้ร้านนี้ยังเป็นบ้านของครอบครัวของเราอีกด้วย “พวกเราอาศัยอยู่ที่นี่ นี่คือบ้านของเรา” อลิสสา กล่าว

เมื่อนายชาญได้เกษียณอายุลง เขาได้ส่งต่องานงานบริหารร้านนี้ให้กับอลิสสา การที่เธอเกิดมาท่ามกลางของโบราณเหล่านี้ หรือการที่บางครั้งเธอได้ติดตามคุณพ่อของเธอไปทางภาคเหนือหรือเมียนมาเพื่อหาสินค้าโบราณเพิ่มเข้ามาในร้าน ทำให้เธอมีสายตาที่หลักแหลมในการมองหาสิ่งของที่สวยงาม
หลายปีที่ครอบครัวของเธอในเก็บรักษาสิ่งของที่สวยงามและหายากเอาไว้มากมายภาย เพื่อเก็บเป็นคอลเลคชั่นส่วนตัว ของบางชิ้นที่ได้เก็บสะสมไว้ถูกนำมาแสดงในร้านเพื่อความเพลิดเพลินของผู้เข้าชม
“เราเดินทางไปภาคเหนือปีละสองครั้งเพื่อเลือกสินค้ามาเข้าร้านของเรา บางครั้งเราก็เจอสิ่งที่เราไม่อยากขาย เราก็จะเก็บมันเอาไว้เอง” เธอกล่าว

ของส่วนใหญ่ที่นำมาขายในร้านจะเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาและงานศิลปะภายในวัด ของบางชิ้นมีอายุถึง 200 ปี ภายในร้านยังมีสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเช่น รูปปั้นพระพุทธรูป, ระฆังวัดและบาตร, กล่องหมากเคลือบเงา, รูปแกะสลักทางศาสนาหรือของพื้นบ้าน, เฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่สวยงาม, เครื่องถ้วยชามที่สวยงาม, ภาพเขียน, สิ่งทอ และภาพแกะสลักฝาผนัง มันเหมือนกับการเดินผ่านเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งของแถมที่คุณจะได้มาคือคุณสามารถนำของเหล่านั้นกลับบ้านได้หาก ถ้าคุณพอใจในของในร้าน

อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยที่มีความเข้มงวดในด้านการขายหรือเคลื่อนย้ายสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาออกนอกประเทศ สิ่งของที่มีความโบราณมากหลายๆ จึงมาจากเมียนมา

“ของส่วนใหญ่จะเป็นของจากเมียนมา เนื่องจากตามที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทราบกันดีว่า งานแกะสลักของเมียนมา นั้นมีคุณภาพดีและงานมีความละเอียดมาก และงานศิลปะของเมียนมาก็ยังมีความคล้ายคลึงกับของไทยอีกด้วย” อลิสสา กล่าว
เธออธิบายต่อถึงความแตกต่างเพียงน้อยนิดของของส่วนประกอบของรูปปั้นพระพุทธรูปที่จะสามารถบอกคุณได้ถึงต้นกำเนิดและอายุของสิ่งของเหล่านั้น โดยแต่ละเขตและวัฒนธรรมจะมีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ยังคงรูปแบบของศิลปะทางศาสนาที่คล้ายคลึงกันเอาไว้

“ในทุกวันนี้ เป็นการยากที่จะหาของโบราณของไทย แต่เนื่องจากเราได้มีการเก็บสะสมเอาไว้ซึ่งเราซื้อเก็บเอาไว้มานานแล้วหลายปีแล้ว เราจึงยังมีสิ่งของที่เป็นของไทยอยู่บ้าง” อลิสสากล่าว

ที่นี่ยังมีสิ่งของจำนวนมากที่นำมาแสดง โดยเป็นของที่ใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทย เมื่อหลายร้อยปี ที่แล้ว
กล่องใส่หมากที่เคลือบเงาเอาไว้อย่างละเอียด และกรรไกรสำหรับตัดหมากนั้นเป็นเหมือนสินค้าทั่วไป ซึ่งจะแสดงถึงวัฒนธรรมที่ฝังลึกในด้านการเคี้ยวหมากที่ยังมีอยู่ในเมียนมาและอินเดีย แต่ได้หายไปแล้วในสังคมสมัยใหม่หรือสังคมเมืองของไทย
หลังจากอลิสสาได้นำผมชมของสะสมที่นำมาจัดแสดงในร้านโดยรอบแล้ว ถึงแม้ว่าผมไม่คิดที่จะมาซื้ออะไร แต่ผมก็พบว่าผมไม่อาจต้านทานความรู้สึกที่ต้องซื้อของบางอย่างกลับไปให้ได้ และผมก็ได้ซื้อรูปแกะสลักพระพิฆเนศวรทองแดงขนาดเล็ก ที่ซึ่งเป็นเทพเจ้าของชาวฮินดูที่ถูกนับถือไปทั่วทั้งประเทศไทย และถูกนำมาสักการะเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีและอุปสรรคและเพื่อช่วยในการศึกษา

ผมไม่รู้สึกเสียใจเลยกับการตัดสินใจเข้าไปที่ร้านชาญ แอนทีค เฮาส์นี้ ตอนนี้รูปแกะสลักพระพิฆเนศวรถูกวางไว้บนแผงหน้ารถของผมเพื่อเป็นการเตือนความจำในเรื่องของวันนั้น และผมกำลังมองหาเวลาที่จะไปที่นั้นอีกครั้ง เพื่อชมความงามของสิ่งของที่ประมาณค่าไม่ได้ และเลือกอีกซักชิ้นมาตกแต่งบ้านของผม

ครั้งต่อไปที่คุณขับรถบนถนนบายพาส ผมแนะนำให้คุณลองเข้าไปดูที่ร้านนี้สักครั้ง คุณจะเดาไม่ออกเลยว่าคุณจะได้เจออะไรที่นั่นบ้าง

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่