ตามรอยพระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจแห่งแผ่นดิน มรดกล้ำค่ายิ่งใหญ่ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า ‘Strength of the Land, Incomparable Power’ มีความหมายว่า “พลังของแผ่นดิน อำนาจที่มิอาจเทียบได้” พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายทุ่มเทและมุ่งมั่นเพื่อประชาชนของพระองค์ ผู้ซึ่งทำงานหนักบนผืนแผ่นดินประเทศไทยแห่งนี้ เกษตรกรในชนบทและถิ่นทุรกันดารห่างไกล และนั่นคือสิ่งที่ประชาชนของพระองค์ได้เห็นและทำให้คนไทยรักในหลวง

วันอาทิตย์ ที่ 18 มีนาคม 2561, เวลา 09:00 น.

แม้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต แต่พระองค์ก็ได้ทรงพระราชทานมรดกอันยิ่งใหญ่เอาไว้ให้ มันคือแนวความคิดและทฤษฎี ที่จะถูกสืบสานต่อโดยคนไทยจากรุ่นสู่รุ่น พระองค์ไม่เพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจให้เรารักและอยู่เพื่อกันและกัน แต่พระองค์ยังได้สร้างตัวอย่างที่ดีให้กับลูกหลานในภายภาคหน้า

ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ฉันเกิดและเติบโตขึ้นมาบนแผ่นดินประเทศไทย สิ่งที่ฉันได้เห็นและรับรู้เสมอมาคือ การได้เห็นพระองค์ท่านเสด็จยังพื้นที่ห่างไกลพร้อมด้วยแผนที่ขนาด 1: 50,000 และกล้อง 35 มม. เพื่อผสกนิกรของพระองค์และเพื่อผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ นายโคฟี อันแนน เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ในครั้งหนึ่งได้กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก” ด้วยพระราชดำริต่าง ๆ ของพระองค์ในหลายด้าน

พระองค์ทรงเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของคนไทย ในการเดินตามรอยพระบาทของพระองค์ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ฉันได้เห็นความมุ่งมั่น การทำงานหนัก และความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่เป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้ฉันเสมอมาและไม่เคยจะลดน้อยลงเลย พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากแห่งหนใด พระองค์ทรงถือว่า ชาติไทยของเรานั้นรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ฉันรู้สึกได้ว่าการถ่อมตัวมันมีความสำคัญมากที่จะให้เราได้มาซึ่งความเคารพนับถือจากผู้คน แม้ว่าพวกเราทุกคนจะมีความแตกต่างกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ “ความพอเพียง” อันเป็นเสมือนแรงบันดาลใจต่อประชาชนของพระองค์ทั้งแผ่นดิน ผ่านทฤษฎี ‘ความพอเพียง’ นั่นคือความพอใจในสิ่งที่ตนมี มันไม่ได้หมายถึงการตั้งเป้าหมายที่ต่ำ หรือยอมแพ้กับอุปสรรคหรือสิ่งที่คุณต้องการในชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่คุณพยายามทำบางอย่างให้สำเร็จ สิ่งสำคัญที่คุณต้องเตือนตัวเองคือ ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเกิดจากความความพยายามอย่างเต็มที่ของคุณแล้ว และจงพอใจกับมัน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล และความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นที่ดี มีบางคนเข้าใจว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปได้ใช้เฉพาะกับชนบทและภาคการเกษตรเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วสามารถใช้กับการดำรงชีวิตในทุกด้าน เริ่มจากการจัดการงบประมาณของครัวเรือนไปจนถึงกิจการทางการเงินของบริษัทขนาดใหญ่

การอยู่อย่างพอเพียง มิใช่เป็นการหยุดยั้งผู้คนจากการมีปัจจัยเสริมความร่ำรวยนานา หรือครอบครองสิ่งของอันหรูหรา แต่มันส่อความหมายว่าต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ทุกอย่างต้องอยู่ในกฎในกรอบและมีขีดจำกัด เราพูดในสิ่งที่จำเป็นต้องพูด แสดงออกเท่าที่จำเป็น และทำงานให้เหมาะสมเพียงพอ กล่าวคือ ความพอเพียง หมายถึง กรอบและขอบเขต ภายใต้ความเหมาะสมและเหตุผลของประเทศและประชาชน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นย้ำในเรื่องของ ‘เส้นทางสายกลาง’ ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันของคนทุกเพศทุกวัย และทุกวิถีชีวิต

การคิดอย่างพอเพียง

ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราต้องมั่นใจว่าเราจะไม่ทำพรากมันไปจากคนรุ่นหลัง การคิดอย่างพอเพียงคือกุญแจสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจจะนำคำมาเรียงร้อยให้เข้าใจในความหมายได้ว่า “ให้ความสำคัญกับคนและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก ไม่ใช่ผลกำไรสูงสุด” เพื่อผลประโยชน์ของเด็กรุ่นต่อไป

ตามรอยพระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจแห่งแผ่นดินสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

ความพอเพียงประกอบด้วย ความปราดเปรื่อง หรือเชาวน์ปัญญา และความยืดหยุ่นการปรับตัวให้เข้ากับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความพอเพียงเพื่อการวางแผนและการดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องมีการตัดสินใจที่ดีในทุกขั้นตอน ในเวลาเดียวกันองค์กรจำเป็นต้องพัฒนาการให้ความสำคัญด้านความรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตและความมีศีลธรรมจรรยา เพื่อให้ธุรกิจมีจุดแข็งและความสมดุล ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมแห่งโลกภายนอก

ดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะยังทำให้บริษัทมีกำไรอยู่หรือไม่

จากหลักฐานทางเศรษฐศาสตร์ บริษัทในประเทศไทยที่ได้น้อมนำและดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ผลกำไรไม่ได้น้อยลงตามไปด้วย ในปี พ.ศ.2540 วิกฤตเศรษฐกิจที่ซ่อนเร้นก่อเกิดประสบการณ์ใหม่แก่คนไทยและสอนให้ได้ตระหนักรู้ว่า การเติบโตแบบไม่มีความไม่มั่นคงนั้นรสชาติเป็นอย่างไร ดังนั้นโรงเรียนที่สอนในด้านธุรกิจ จึงได้นำหลักสูตรการสอนผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่เกี่ยวกับหลักจริยธรรมทางธุรกิจ หลักความซื่อสัตย์สุจริต บรรษัทภิบาล และความยั่งยืนขององค์กร เมื่อใดที่ผู้คนพึงพอใจ เมื่อนั้นพวกเขาจะโลภน้อยลง และด้วยความโลภที่น้อยลง พวกเขาก็จะได้เผชิญกับปัญหาน้อยลง การที่จะทำให้ลูกค้าพอใจนั้น ทุก ๆ ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์สุจริตไม่ใช่ความโลภ

เป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระราชทานตัวอย่างอันชัดเจนและด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในวิธีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน เพื่อรับมือกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ได้สำเร็จ นักลงทุนด้านเศรษฐกิจการเงินควรตั้งใจน้อมนำทฤษฎีการพัฒนาที่ยั่งยืนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการเดินตามรอยพระบาทที่พระองค์ท่านทรงแสดงให้เห็นการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ราคาเหมาะสมและมีประสิทธิภาพรวมถึงการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อเอาชนะความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา

กิรณี นรบาล จะทำการบรรยายในหัวข้อ  “ตามรอยพระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจแห่งแผ่นดิน” ในงาน Inspired Phuketians วันที่ 29 มี.ค. นี้ เวลา 18.00 น. กิจกรรมประจำเดือน ที่ สกาย เลค คลับ, ลากูน่า, เชิงทะเล จำกัดที่นั่งเพียงแค่ 55 ที่นั่งเท่านั้น เพียงท่านละ 350 บาท รวมเครื่องดื่ม 1 แก้วและคานาเป้ สมัครได้แล้วทางอีเมลsales@skyelakeclub.com

ภูมิใจสนับสนุนโดย ข่าวภูเก็ต และ Live 89.5

- กิรณี นรบาล

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่