“น้ำท่วม ฝนแล้ง” ความแตกต่างที่มาพร้อมกัน

ภูเก็ต - คำว่า “น้ำท่วม” และ “ฝนแล้ง” ฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงสถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรียกได้ว่าเป็น “ความตรงกันข้าม” กันเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ต ประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ต้องประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วง น้ำในอ่างเก็บน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และหากวันใดฟ้าฝนเทลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง หลายพื้นที่ก็ต้องได้รับความเดือดร้อน จนทำให้จังหวัดต้องประกาศเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย

วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2562, เวลา 12:00 น.

ซอย ปฎัก 15.30 น. 31 ต.ค. 62 ภาพ อรอนงค์ หิรัญ

ซอย ปฎัก 15.30 น. 31 ต.ค. 62 ภาพ อรอนงค์ หิรัญ

ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลกะรน และตำบลฉลอง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต หลายร้อยครัวเรือนต้องทำการอพยพละทิ้งบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อรักษาตัวให้รอดปลอดภัยจากเหตุน้ำป่าไหลหลากที่พัดพาเอาดินโคลน ลงมาท่วมบริเวณบ้านและภายในชุมชน รวมถึงถนนหลายสายทำให้การจราจรต้องกลายเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ (อ่านเพิมเติม คลิก)

ชาวบ้านบางรายสุดทน โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียเรียกร้องให้ทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาในระยะยาว วางแผนการจัดการเส้นทางน้ำให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซากในภายภาคหน้า ซึ่งในส่วนนี้ก็คงต้องฝากความหวังให้กับทางผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้ามาดูและและจัดการแก้ปัญหากันต่อไป

และในขณะเดียวกัน การประปาส่วนภูมิภาคสาขาภูเก็ต ขอให้ประชาชนในพื้นที่ใช้น้ำอย่างประหยัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือกับฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ เนื่องจากปริมาณน้ำดิบในอ่างเก็บน้ำของจังหวัดภูเก็ต มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการนำมาผลิตน้ำประปาให้พอเพียงกับความความต้องการของประชาชน (อ่านเพิ่มเติม คลิก)

แต่อย่างไรก็ตามในความทุกข์ยากลำบากก็ยังได้เห็นว่าพี่น้องเราไม่ทิ้งกัน มีการหยิบยื่นความช่วยเหลือขณะเผชิญหน้ากับน้ำป่าที่ไหลบ่าลงมาจากเทือกเขาและภายหลังเกิดเหตุ จากทั้งทางภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติโดยเร็วที่สุด

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่