ทช.สำรวจความหลากหลายของสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล พบการปกคลุมของหญ้าทะเลน้อยกว่า 25%

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงานผล การสำรวจและประเมินสถานภาพของหญ้าทะเลบริเวณเกาะมุกด์-แหลมหยงหลำ อ่าวขาม จังหวัดตรัง และเกาะปูด้านเหนือ เกาะปูด้านใต้ จังหวัดกระบี่

ข่าวภูเก็ต

วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568, เวลา 16:58 น.

เมื่อวันที่ 13-18 ก.พ. 68 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ได้ออกปฏิบัติงานสำรวจ ประเมินสถานภาพของหญ้าทะเลโดยวิธีวาง Line transect และ Spot check บริเวณเกาะมุกด์-แหลมหยงหลำ (10,388 ไร่) และอ่าวขาม (583 ไร่) จังหวัดตรัง เกาะปูด้านเหนือ ( 1,246 ไร่) และเกาะปูด้านใต้ (342 ไร่) จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่สำรวจทั้งหมด 12,559 ไร่

พร้อมสำรวจความหลากหลายของสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลเกาะปูด้านเหนือ โดยแหล่งหญ้าทะเลในทั้ง 4 พื้นที่ มีการปกคลุมของหญ้าทะเลต่ำ (มีการปกคลุมของหญ้าทะเลน้อยกว่าร้อยละ 25) พบหญ้าทะเล 9 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าใบมะกรูด, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงาใบใหญ่, หญ้ากุยช่ายทะเล และหญ้าเงาใส

พื้นทะเลโดยรวมมีลักษณะเป็นทรายถึงทรายปนโคลน หญ้าคาทะเลที่พบในทุกพื้นที่มีลักษณะใบขาดสั้นไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะบริเวณเกาะปูด้านใต้ หญ้าคาทะเลยืนต้นตายกระจายทั่วทั้งบริเวณ สัตว์น้ำชนิดเด่นที่พบบริเวณแหล่งหญ้าทะเล คือ ดาวทราย และดาวแดงหนามใหญ่ กลุ่มปลาชนิดเด่น ได้แก่ ปลาหัวแบนด่าง และปลาลิ้นควาย คุณภาพน้ำ ความลึก 0.5 – 7 เมตร อุณหภูมิอยู่ในช่วง 29 - 31 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31-32 พีพีที ความเป็นกรด - ด่าง 7.9 - 8.1 ขยะทะเลในแหล่งหญ้าทะเลที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ พลาสติก ขวดแก้ว และเศษอวน

Berda Claude International School of Phuket (BCIS)




 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่