นายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 1 เดือน คุมระบาดไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงการณ์เรื่องการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อคุมไวรัสระบาดตั้งแต่ 26 มี.ค.63 - วันที่ 30 เม.ย.63 ยืนยันไม่ปิดร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดึงทุกภาคส่วนร่วมทำงาน

โพสต์ทูเดย์

วันพุธ ที่ 25 มีนาคม 2563, เวลา 15:59 น.

นายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 1 เดือน คุมระบาดไวรัส

นายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 1 เดือน คุมระบาดไวรัส

โดยมีสาระสำคัญดังนี้

-ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการระบาด "ตั้งแต่ 26 มี.ค.63 ถึงวันที่ 30 เม.ย.63"

-ยกระดับ "ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19" ให้เป็น "หน่วยงานพิเศษ" เพื่อบูรณาการหน่วยงานราชการ ให้รวมศูนย์ไว้ที่เดียว ให้เกิดการสั่งการอย่างเป็นเอกภาพ

-ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบด้านสาธารณสุข, ปลัดมหาดไทยรับผิดชอบด้านสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด, ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รับผิดชอบด้านการควบคุมสินค้า เวชภัณฑ์, ปลัดกระทรวงต่างประเทศ ดูแลด้านการต่างประเทศ การคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในตต่างประเทศ, ผบ.ทหารสูงสุด รับผิดชอบ ด้านความมั่นคง ปราบปรามอาชญากรรม มีทีมงานทุกภาพส่วนเป็นที่ปรึกษา

-ผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ รัฐบาลจะมีช่องทางตามกฎหมายเข้าควบคุมบริหารสถานการณ์ได้ เช่น โอนอำนาจบางประการของรัฐมนตรีตามกฎหมายบางฉบับมาเป็นอำนาจนายกฯเท่าที่จำเป็นและเป็นการชั่วคราว เพื่อความรวดเร็วและบูรณาการ

-จะมีการออก "ข้อกำหนด" คือ "ข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติ" บางอย่างตามมา เช่น "ห้ามเข้าออกสถานที่บางแห่ง ห้ามหรือจำกัดการเข้าออกราชอาณาจักร และการเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากข้ามเขตพื้นที่ การใช้ยานพาหนะ เส้นทางจราจร การควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์"

-รัฐบาลจะพิจารณาเลือกใช้เฉพาะมาตรการเท่าที่จำเป็น ตามคำแแนะนำทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค

-ยืนยันว่าจะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

-ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน "งานป้องกันการระบาด" เช่น แอพลิเคชันกำหนดโลเคชัน มาช่วยในการเฝ้าสังเกตอาการ หรือควอรันทีน การรักษาพยาบาล รวมทั้งการเยียวยา ฟื้นฟูประเทศ จากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19

-จะปรับปรุงการสื่อสารกับประชาชนให้มีความชัดเจน

-ให้มีการแถลงข่าววันละ 1 ครั้งเพื่อลดความซ้ำซ้อน

-การบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมโรคจะเข้มข้นขึ้นทั่วประเทศ เอาผิดคนฝ่าฝืน และเจ้าหน้าที่ที่ละเลยต่อหน้าที่

-ส่งทีมงานไปหารือกับภาคเอกชนเพื่อดึงเข้ามาร่วมทำงานในการป้องกันการแพร่ระบาด

-มาตรการที่ออกมาจะเข้มข้นมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน

-ขอให้ประชาชนร่วมมือกับทางการในการปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด

-ให้ติดตามข่าวสารจากช่องทางที่เป็นทางการ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ระบุแหล่งข่าวอ้างอิงที่เชื่อถือได้ มิใช่ข่าวลือ และข่าวที่ไม่ปรากฏแหล่งที่มา

-หากมีข้อสงสัยให้สอบถามที่ กระทรวงสาธารณสุข หรือ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา2019 โทร. 1111

(อ่านโพสต์ทูเดย์ คลิก)

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่