ภูเก็ตนำร่อง เปิดตัวโครงการ Urban-Act พัฒนาเมืองแบบองค์รวมสู่คาร์บอนต่ำและฟื้นตัวได้

ภูเก็ต - วันนี้ (29 ต.ค. 67) เวลา 09.30 น. นายสมาวิษฏ์ สุพรรณไพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดและกล่าวปาฐากถา ในการประชุมเปิดตัวโครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ (Urban-Act) พื้นที่นำร่อง:จังหวัดภูเก็ต ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้

ข่าวภูเก็ตประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ

วันอังคาร ที่ 29 ตุลาคม 2567, เวลา 16:25 น.

โดยมี นายไฮนริค กูเดนุช ผู้อำนวยการโครงการ Urban-Act, นางสาวอัญชลี ตันวานิช ที่ปรึกษาด้านการผังเมืองจากกรมโยธาธิการและผังเมือง, ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนจาก GIZ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วม โดยในส่วนพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมรับฟังและเสนอแนะข้อมูล ของจังหวัดภูเก็ต

นายสมาวิษฏ์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวติด 1 ใน 3 ของประเทศจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดผลกระทบ ด้านการการจราจร ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้มีโครงการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการบริหารจัดการขยะโดยเฉพาะขยะเปียก เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ด้าน นายไฮนริค กล่าวว่า โครงการ Urban-Act เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ของกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) โดยมีระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่เมษายน 2565 ถึงธันวาคม 2570 มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาเมืองแบบคาร์บอนต่ำ ฟื้นตัวได้ และสนับสนุนเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชาติ (NDCs) รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โครงการฯ ได้กำหนดพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต โดยมีหน่วยงานหลักในการดำเนินงานได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และกรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับองค์กรต่างประเทศ เช่น GIZ และมหาวิทยาลัยจากประเทศเยอรมนี

Berda Claude International School of Phuket (BCIS)

ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั้งในเรื่องของดินโคลนถล่มน้ำท่วม จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เรามาจัดกิจกรรมและโครงการ Urban-Act ในพื้นที่นี้ และมีหลักฐานที่เห็นได้ชัดว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นความเสี่ยงที่ประชาชนต้องเผชิญในทุกวันนี้ และสิ่งที่เห็นเด่นชัดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการขยายเมืองอย่างรวดเร็วจึงมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการเจริญเติบโต โดยการพัฒนาเหล่านี้จะต้องมีการคำนึงถึงความอัจฉริยะ ภูมิอากาศจำนวนประชากร ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตมีความเหมาะสมในการที่จะพัฒนาความเป็นเมือง แบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้สำหรับการเป้าหมายของโครงการ Urban-Act ดำเนินการใน 5 ประเทศซึ่งมีประชากรรวม 45% ของประชากรโลก


 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่