ซึ่งนอกจากนักลงทุนแล้ว ธนาคารกลางยังถือเป็นผู้ซื้อขายที่สำคัญในการ เทรดทอง อีกด้วย
ทำไมธนาคารกลางถึงซื้อขายทองคำ?
ทองคำมีบทบาทสำคัญในการใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ โดยเหตุผลสำคัญ 3 ประการของธนาคารกลางในการถือครองทองคำ คือ เพื่อรักษาสมดุลของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการถือครองสกุลเงินและเพื่อส่งเสริมเสถียรภาพในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระจายพอร์ตการลงทุน เนื่องจากทองคำมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับดอลลาร์สหรัฐ เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ราคาทองคำจะมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงช่วยปกป้องธนาคารกลางจากความผันผวนได้
นอกจากการซื้อทองคำแล้วธนาคารยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขายของคำอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากแนวโน้มราคาทองคำที่ลดลงเพราะจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งทำให้การถือครองทองคำเพื่อความปลอดภัยน้อยลง และผลตอบแทนที่ต่ำทำให้ทองคำไม่น่าสนใจในการลงทุน อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตการเงินในเอเชียปี 1997 และวิกฤตการเงินในปี 2007–2008 ทำให้ตั้งแต่ปี 2010 ธนาคารกลางกลายเป็นผู้ซื้อทองคำสุทธิเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยสหรัฐอเมริกาครอบครองทองคำมากที่สุด คิดเป็นเกือบร้อยละ 78 ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด และรองลงมาคือประเทศเยอรมนีและล่าสุดรัสเซีย จีน ตุรกี และอินเดีย ได้ทำการซื้อทองคำจำนวนมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ผลกระทบที่มีต่อตลาด
การคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐมีส่วนสำคัญในการเพิ่มราคาของทองคำ เนื่องจากในทางทฤษฎี อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะลดความน่าดึงดูดใจของทองคำลงเมื่อผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรและหลักทรัพย์สูงขึ้น หากธนาคารกลางตัดสินใจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือแม้แต่ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทองคำอาจได้ประโยชน์
ไม่ใช่แค่เพียงธนาคารกลางเท่านั้นที่ตระหนักถึงบทบาทของทองคำในพอร์ตการลงทุน แต่โรงกษาปณ์ซึ่งนำเสนอเหรียญและแท่งทองคำแท่งหลากหลายประเภท รวมถึงผลิตภัณฑ์การลงทุนดิจิทัลก็ได้มองเห็นถึงว่า 30% ของนักลงทุนกำลังวางแผนที่จะลงทุนในทองคำมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของธนาคารกลางซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำซึ่งนักลงทุนต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด