กรมสุขภาพจิตห่วงเหยื่อความรุนแรงจากคนรัก อย่านิ่งเฉย มองหาความช่วยเหลือ

กรมสุขภาพจิตห่วงใยเหยื่อความรุนแรงจากคนรัก อย่านิ่งเฉย ควรแสวงหาความช่วยเหลือ หากปล่อยระยะเวลาให้ เนิ่นนาน ความรักในรูปแบบที่ผิด ๆ อาจทำลายสุขภาพใจในระยะยาว หลังเจอตัวเลขน่าห่วงใย พบมีผู้ถูกกระทำความรุนแรงมารับบริการ ศูนย์พึ่งได้ กว่า 8 หมื่นราย 90% เป็นผู้หญิง ที่ได้รับความรุนแรงด้านร่างกาย

ข่าวภูเก็ตประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ

วันพฤหัสบดี ที่ 27 เมษายน 2566, เวลา 11:00 น.

ภาพ Hernán Piñera

ภาพ Hernán Piñera

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในขณะนี้เราพบการนำเสนอข่าวการใช้ความรุนแรงในปัญหาความสัมพันธ์ได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น เป็นอีกเหตุปัจจัยที่ยิ่งเสริมให้ผู้มีความเครียดขาดสติและใช้ความรุนแรงในการปัญหาอย่างผิด ๆ ได้ง่ายขึ้นตามภาพที่พบเห็น อีกทั้งผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงเองก็มักจะไม่กล้าที่บอกเล่า หรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพราะความอับอาย หรือเพราะความรักที่มีต่อผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำ จนเกรงกลัวว่าบุคคลที่ตนรักจะถูกตีตรา ตำหนิ ถูกลงโทษจากสังคม หรือถูกดำเนินคดี

แต่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นระเบิดเวลาอย่างหนึ่ง ยิ่งปล่อยเวลาล่วงเลยไป ก็จะทวีความรุนแรง ซับซ้อนและนำไปสู่การสูญเสียรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยผลในระยะยาวที่สำคัญ คือ การเกิดภาวะซึมเศร้า การใช้สุราและสารเสพติด ตลอดจนปัญหาการทำร้ายกันหรือการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ หากเด็กและเยาวชนที่แม้ไม่ถูกกระทำความรุนแรงโดยตรง

เพียงแค่เห็นสมาชิกในครอบครัวถูกกระทำความรุนแรงต่อเนื่องยาวนาน จะส่งผลกระทบไม่ต่างกับผู้ที่ถูกกระทำด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กผู้หญิงอาจมีแนวโน้มที่จะยอมรับความรุนแรงมาเป็นส่วนหนึ่งและมองว่าเป็นเรื่องปกติของชีวิตคู่ ขณะที่เด็กชายจะเรียนรู้ผิดๆว่าการใช้ความรุนแรงเป็นวิธีแก้ปัญหาหรือการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าต่อผู้ที่ตนเองรัก โดยจากข้อมูลของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ในช่วงปี 2561 – 2565 พบว่า มีจำนวนผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงมารับบริการจำนวนทั้งสิ้น 80,272 ราย ซึ่งเพศหญิงเป็นกลุ่มที่ขอเข้ารับบริการมากที่สุดซึ่งมีจำนวน 73,025 รายหรือคิดเป็น ร้อยละ 90.97 โดยประเภทของความรุนแรงที่พบจากกลุ่มผู้ที่มาขอรับบริการในศูนย์พึ่งได้ อันดับแรก คือการกระความรุนแรงทางด้านร่างกาย ร้อยละ 48.30 การกระทำความรุนแรงทางเพศ ร้อยละ 25.81 และการกระทำรุนแรงทางจิตใจ ร้อยละ 18.89

ทั้งนี้ หากพบเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวไม่ควรเพิกเฉย สามารถให้ความช่วยเหลือ เช่น การโทรศัพท์แจ้งตำรวจ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 สอดส่องดูแลบุคคลใกล้ชิดไม่ให้ใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวหรือชุมชนหากพบผู้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากความรุนแรงนั้นสามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงขอคำปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่