ขับเคลื่อนพลังคนภูเก็ตต่อต้านขยะทะเล หลายแรงร่วมมือภายใต้หัวใจเดียวกันต่อสู้เพื่อท้องทะเลอันดามัน

สิ่งแวดล้อม - เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม เราได้พบเห็นภาพและคลิปของคลื่นขยะพลาสติกขนาดมหึมาถาโถมเข้ามายังชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งครอบคลุมตลอดทั้งแนวชายฝั่งของเมืองหลวงอย่างเมืองซานโตโดมิงโก และนั่นก็ส่งผลให้ต้องเร่งจัดเก็บขยะพลาสติกเหล่านั้นจากท้องทะเล ซึ่งรวมน้ำหนักแล้วกว่า 30 ตัน

David Jacklin

วันอาทิตย์ ที่ 5 สิงหาคม 2561, เวลา 16:00 น.

โดยคลิปคลื่นขยะขนาดใหญ่ดังกล่าวถูกโพสต์ลงบนโลกออนไลน์โดยองค์กรอนุรักษ์ทางทะเล เพื่อต้องการปลุกจิตสำนึกให้คนทั่วโลกตระหนักถึงผล กระทบจากขยะพลาสติกที่เกิดจากความมักง่ายของมนุษย์ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวแล้วทิ้งขยะลงทะเลหรือริมชายหาด ซึ่งถ้าหากไม่มีการจัดการปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จำนวนขยะพลาสติก (วัดจากน้ำหนัก) จะมีปริมาณมากกว่าปลาในมหาสมุทรภายในปี 2050

ในฐานะของคนที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ต้องอาศัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศทางชายฝั่งทะเลมีผลกับเราทุกคน และในฐานะของมนุษย์ เราเกิดมีความตระหนักในเรื่องผลกระทบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพึ่งพาพลาสติกและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เคย สื่อเองก็มีการนำเสนอมุมมืดโดยใช้สถิติอันน่าตกใจที่จะทำให้เรารู้สึกสลดใจและเสียใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

จากภาพที่ปรากฏต่อสายตาของพวกเราแล้วนั้น ถึงคราวที่การอธิบายหรือโน้มน้าวจิตใจในด้านผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดในการเรียกความรับผิดชอบจากทุกภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐไปสู่ภาคธุรกิจและสู่ประชาชนในท้องถิ่น และก่อนที่ทุกคนจะสิ้นหวังกับเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง ขอให้ผมได้บอกกล่าวเสียก่อนว่าเรามีข่าวดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะนี่คือรายงานข่าวเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงบวก โดยกลุ่มของนักวิชาการท้องถิ่น และกลุ่มบริษัทสื่อสารมวลชนได้จับมือกันเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ทแอนด์สปา เมอร์ลินบีช ได้จัดงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติ เพื่อที่จะส่งเสริมการอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล ซึ่งงานนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มอนุรักษ์และผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ วันนั้นได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งได้ทำงานร่วมกันกับภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ ในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR) ไปสู่การดำเนินธุรกิจบริเวณชายฝั่ง

ภารกิจการสร้างแนวปะการัง
การประชุมเริ่มต้นด้วย การบรรยายเกี่ยวกับระบบนิเวศปะการังโดย ดร.นลินี ทองแถม นักวิชาการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัย1 ใน 5 จากทั่วประเทศ ครอบคลุมแนวชายฝั่งภูมิภาคประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลในเรื่องของระบบนิเวศน์ทางทะเล สมุทรศาสตร์ มลพิษทางทะเล ศึกษาแพลงตอน และความสมบูรณ์ทางทะเล อีกทั้งการทำงานยังรวมไปถึงการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าทะเล กลุ่มปลาวาฬ และดอกไม้ทะเล

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากมนุษย์ต่อแนวปะการังและการฟื้นฟูทะเลอันดามัน ได้มีการศึกษาต่อเนื่องมากว่า 20 ปี และตัวเลขของพื้นที่เพียง 120 ตารางกิโลเมตรนี้ก็ทำให้ได้เห็นถึงสภาพของท้องทะเลที่ค่อนข้างจะป่วยเสียแล้ว จากรายงาน มีเพียง 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยังอยู่ในสภาพที่ดี ส่วนที่เหลืออยู่ในสภาพย่ำแย่หรือแย่มาก

ปัญหาส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมไปถึงการจัดการที่ยอดแย่และผลจากการเพิ่มขึ้นด้านการท่องเที่ยวตลอดช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา

นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาดินตะกอนไม่ได้อยู่ในการดูแลของโรงแรม แต่เป็นปัญหาของภาครัฐที่ต้องทำงานร่วมกับ IUCN อย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อม

นำไปสู่การตีพิมพ์รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนคือการบังคับใช้นโยบายเพื่อป้องกันการตกตะกอน ซึ่งในเรื่องนี้นายนิพนธ์ได้แนะนำว่า เจ้าหน้าที่ต้องวางแผนจัดเตรียมถังเก็บน้ำหรือระบบดักตะกอนเพื่อนำมาใช้เมื่อบริเวณใกล้ชายหาดอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อป้องกันการปล่อยตะกอนลงทะเล
อย่างไรก็ตาม มีหนึ่งข้อกำหนดใหม่จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่สามารถมีผลได้ทันที ซึ่งปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ว่าหากมีการรายงานเรื่องกิจกรรมการสร้างความเสียหายต่อแนวปะการังโดยตรง จะต้องรับโทษตามกฎหมาย

ดร.นลินี กล่าวถึงการทำงานของทีมฟื้นฟูสภาพปะการังว่า ทางศูนย์ฯได้วางโครงสร้างคอนกรีต หรือปะการังเทียมลงในทะเล เพื่อให้ปะการังได้มายึดเกาะและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน หลังจาก 15 ปี ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการฟื้นตัวของปะการังมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายพื้นที่ ซึ่งปะการังเทียมเหล่านั้นสามารถย้ายไปที่ฟื้นฟูในที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย

ในส่วนของโรงแรมเองก็สามารถช่วยได้อย่างมากในด้านการรณรงค์ส่งเสริมแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นแนะนำวิธีการชมความงดงามของปะการังอย่างถูกต้องต่อผู้เข้าพัก ตามทฤษฎีแล้วโรงแรมสร้างทางเลือกการชมแนวปะการังในพื้นที่ ด้วยข้อปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการดำน้ำดูปะการังและไม่เหยียบย่ำลงบนปะการัง

ณ แมริออทแห่งนี้ ก็ได้ให้การต้อนรับนักชีววิทยาทางทะเลจาก IUCN อย่าง Katie Bimson และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาปะการังเข้าเป็นแขกของโรงแรมอีกด้วย สำหรับโครงการเพื่อการสนับสนุนโรงแรมสู่การปฏิบัติที่ดีที่สุด ทาง IUCN ได้จัดทำเอกสารแนะแนวโรงแรม ภายใต้ชื่อ ‘Biodiversity: My Hotel in Action’ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดออนไลน์

ธุรกิจในประเทศไทย และแพลตฟอร์มความหลากหลายทางชีวภาพ
แอน โมอีย์ หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารของ IUCN สำนักงานในภูมิภาคเอเชียของ ได้กล่าวถึงบทบาทของพวกเขาในอุตสาหกรรมเชิงพานิชย์ IUCN คือเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก พันธกิจของพวกเขาคือการสร้าง ‘โลกแห่งการเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ’ ซึ่งหลักการสำคัญของการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมในประเทศไทย คือ กลุ่มพันธมิตรเครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพ (B-DNA) ซึ่งเป็น กลุ่มแรกในภูมิภาคนี้ เป็นโปรแกรมที่ได้รวมเอาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาช่วยอนุรักษ์ชีวิตทั้งผืนน้ำและผืนดิน ให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางชีวภาพเฉพาะของประเทศไทย ซึ่งโปรแกรมนี้มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้และเครื่องมือแก่ภาคเอกชน ตลอดจนความร่วมมือและความพยายามในการพัฒนาโครงการให้ยั่งยืน

โมอีย์ระบุว่าประเทศไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่ต้องรับผิดชอบเรื่องมลพิษทางทะเลถึง 80%
การร่วมกันแสดงความรับผิดชอบคือกุญแจดอกสำคัญ โมอีย์บรรยายถึง 3 สิ่งสำคัญในการดึงเอาพันธมิตรเข้าร่วมโครงการคนจากองค์กรการกุศลหรือการบริจาค การจัดการความเสี่ยง รวมถึงของทำความสะอาดชายหาดและขยะ เพื่อสร้างมูลค่าสำหรับบรรดากลุ่มธุรกิจเข้าใจถึงผลกระทบและการรับเอาแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะถูกมองเห็นและได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลลัพธ์กลายเป็นผลบวกในเชิงธุรกิจ

โมอีย์เชื่อว่าวงการอุตสาหกรรมต้องการนำแบบปฏิบัติมาใช้ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือความรู้เกี่ยวกับวิธีทำและการดำเนินการเสริมสร้างและรักษาโปรแกรมแห่งการเปลี่ยนแปลง

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจทรงอิทธิพลและโครงการความร่วมมือที่ยั่งยืนอย่าง B-DNA สามารถเห็นผลได้จริง?
ในเรื่องนี้ IUCN ได้มีแถลงการณ์ในประเทศต่าง ๆ รวมถึง อินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน สำหรับในประเทศไทยที่มีสมาชิกหลักอย่าง ทาทาเพาเวอร์ และโตโยต้า ได้มีส่วนร่วมในการกระตุ้นและร่วมมือความหลากหลายทางชีวภาพ และพร้อมรับทุกความเสี่ยงและโอกาสอันดีในเรื่องนี้

“ความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป” โมเอย์อธิบาย “B-DNA ช่วยให้สมาชิกสามารถทำงานร่วมกันกับรัฐบาล ในการกำหนดนโยบายและนำมาใช้ มันเป็นเรื่องของการลำดับความสำคัญระดับประเทศที่สมาชิกสามารถเรียนรู้จากกันและกัน รวมไปถึงการชื่นชมในการเป็นที่น่าจดจำของการเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติอย่างยั่งยืน”

การกำจัดขยะพลาสติก
เจน แมคดูกอลล์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ที่ทำงานในวงการนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นหัวหน้าสมาคมโรงแรมภูเก็ต เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรและยังเป็นตัวแทนโรงแรมกว่า 70 แห่ง ซึ่งรวม ๆ แล้วก็คือ 10,755 ห้องทั่วเกาะภูเก็ต ซึ่งทางสมาคมก็ได้ปฏิบัติตามวีดีโอและหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนว ทางการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

กุญแจสำคัญในเรื่องนี้คือการลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ซึ่งรวมถึง ขวดต่าง ๆ หลอด และภาชนะชนิดเทคอะเวย์
สิ่งที่เราต้องการสื่อออกไปด้วยเสียงที่ดังให้ฟังได้ชัด คือการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ สามารถบังเกิดผลสำเร็จ และสามารถสร้างผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อ 12 เดือนที่แล้ว 29 โรงแรมในภูเก็ตใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ตอนนี้ยอดลดลงไปเหลือ 20 โรงแรม คุณคงคิดว่า “ลดลงไป 9 แห่งเองเหรอ?” และอาจจะคิดว่าเป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่เมื่อพิจารณาว่าโรงแรมเพียงแห่งเดียวที่มีขวดพลาสติกถึง 660,000 ขวดใน 1 ปี และนั่นก็ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ

ดร.มาริสสา แจบลอนสกี เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้จากประเทศ สหรัฐอเมริกา เธอเป็นวิศวกรด้านการพัฒนาและนักการศึกษาที่ร่วมมือกับกลุ่มนักวิจัยทั่วโลกต่อสู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเธออยู่บนเกาะภูเก็ตเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อทำการสำรวจพลาสติกในโรงแรม ซึ่งเธอกล่าวว่าได้พบเจอคำถามและข้อสงสัยมากมายจากทางโรงแรมต่าง ๆ และเธอต้องการแน่ใจว่าโรงแรมเหล่านั้นได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

ดร.มาริสสา กล่าวว่า เมื่อคุณรีไซเคิลขวดพลาสติก มันจะไม่มีทางกลับมาเป็นขวดน้ำดื่มพลาสติกได้อีก ส่วนใหญ่จะถูกนำกลับมาเป็นโพลีเอสเตอร์ที่ใช้กับเสื้อผ้า ซึ่งเมื่อคุณพิจารณาว่า ทั่วโลกมีการใช้ขวดพลาสติกเป็นล้านขวดในทุก ๆ 1 นาที ทุก ๆ วัน ถือเป็นตัวเลขที่มหาศาลทีเดียว เพียงแค่ใช้ขวดแก้วและหลอดกระดาษ เราก็สามารถเข้าใกล้การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ นอกจากนี้ บรรดาโรงแรมต่าง ๆ ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการใช้แก้วแทนพลาสติก ก่อเกิดข้อเท็จจริงที่ว่าโรงแรมสามารถทำสิ่งที่ถูกต้อง และมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจในการใช้ตัวเลือกสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

แล้วเราจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร?
สำหรับโรงแรมแล้ว ในปี 2018 ถือเป็นปีสากลของแนวปะการัง ทั่วโลกพยายามเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมและความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลในท้องถิ่น ตลอดจนการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวปะการังในจังหวัดภูเก็ต ติดต่อ IUCN เพื่อการสนับสนุน ขอข้อมูลและทางเลือกเพื่อการพัฒนาอันยั่งยืนเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ ทั้งนี้ โรงแรมยังสามารถเพิ่มตัวเลือกดาวน์โหลด “Biodiversity: My hotel in action” ผ่านทางเว็บไซต์ของพวกเขา

สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถติดตามโครงการ “แทรชฮีโร่” ซึ่งได้ขับเคลื่อนโดยเหล่าอาสาสมัครที่ผลักดันโครงการตามชุมชนและกำลังมองหาผู้เข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญในการจัดกิจกรรมกำจัดขยะและขวดพลาสติกในท้องถิ่น โดยสามารถติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก แทรชฮีโร่ ประเทศไทย

พวกเราทุกคนต่างรู้ว่าประเทศไทยมีหนทางอีกยาวไกลที่ต้องเดินต่อ การใช้พลาสติกที่มากเกินความจำเป็น สามารถพบเห็นได้ไม่ยากเลยระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายทั่วประเทศ ดังที่ได้บอกเล่ากับเจ้าของโรงแรมแห่งหนึ่งในภูเก็ต ซึ่งแม้จะต้องพบกับความผิดหวัง แต่บางทีมันก็เป็นข้อกังขาที่เข้าใจได้

ไม่ว่าเราจะต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้ รวมถึงให้การให้ความรู้ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไร ถ้าหากเพียงเราสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทีละเล็ก ทีละน้อย ก้าวทีละก้าวไปตามขั้นตอนที่วางเอาไว้ มันก็ทำให้เรามองเห็นความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไม่ยากเย็น และที่สำคัญพวกเราต้องพึงระลึกเอาไว้ว่านี่คือการเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติ ที่จะเปลี่ยนทุกอย่างไปได้โดยสิ้นเชิง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ สามารถเข้าชมได้ที่ :
IUCN - https://www.iucn.org/asia/thailand/countries/thailand
Biodiversity: My hotel in action - https://cmsdata.iucn.org/downloads/iucn_hotel_guide_final.pdf
และ Trash Hero Thailand - https://www.facebook.com/trashherothailand/

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่