คนไทยผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์

สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย มีความผูกพันกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทแห่งการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งถือเป็นการปกครองที่อยู่คู่กับชนชาติไทยมาอย่างยาวนาน

ข่าวภูเก็ต

วันเสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม 2562, เวลา 12:00 น.

จิตอาสาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก แสดงออกถึงความจงรักภักดี และสํานึกเชิดชูในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ / ภาพ : ปชส.ภูเก็ต

จิตอาสาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก แสดงออกถึงความจงรักภักดี และสํานึกเชิดชูในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ / ภาพ : ปชส.ภูเก็ต

กอปรกับความเชื่อในแบบเทวราชาที่ตกทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ ตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ได้ยกย่องให้กษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ จึงทำให้ประเทศไทยเรามีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตามความเชื่อที่หยั่งรากลึกลงไปบนผืนแผ่นดินไทย

ในปีพุทธศักราช 2562 ชาวไทยและชาวโลกได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกพิธีหนึ่ง ซึ่งก็คือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒” โดยเฉพาะคนไทยที่ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยพร้อมเพรียงกัน

แต่ในขณะเดียวกันสื่อต่างชาติบางรายก็มิได้เข้าใจและให้ความเคารพขนบธรรมเนียมการกราบไว้ของไทย ซึ่งแสดงออกผ่านการผลิตรายการที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงวัฒนธรรมการกราบไหว้ หมอบคลานของไทย ด้วยการเอาไปเปรียบเทียบกับท่าทางของแมวน้ำ แถมยังแสดงอาการล้อเลียน และหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งภายหลังคลิปดังกล่าวเผยแพร่ออกไปในโลกโซเชียล ปรากฎว่ามีชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าไปแสดงความคิดเห็นและต่อว่าการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าว ในแง่ของการไม่เคารพในวัฒนธรรมของชาติอื่นอย่างร้ายแรง ก่อนคลิปดังกล่าวจะถูกลบออกไปในภายหลัง แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังคงแสดงความไม่พอใจกับการแสดงความไม่เคารพอย่างร้ายกาจดังกล่าว

ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่เรียกได้ว่ามีความ ‘เสรี’ แม้ว่าจะไม่เสรีสุดโต่งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เชื่อว่าเรามีชีวิตอยู่ในยุคที่ดีที่สุดยุคหนึ่ง เพราะเราทุกคนมีเสรีที่จะเลือกเชื่อหรือปฏิบัติตามสิ่งใดก็ได้ดังใจปรารถนา ตราบเท่าที่มันไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคนอื่น และแน่นอนว่าการกระทำของรายการดังกล่าวถือว่าไม่เหมาะสม เพราะคุณต้องเข้าใจว่าในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ มีวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธาแตกต่างกัน เนื่องด้วยบริบทแห่งรากเหง้าความเป็นมาที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความสำคัญและให้ความเคารพต่อวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นหรือชนชาติอื่น ๆ ด้วย

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่