คุณภาพน้ำหาดป่าตองส่อแววแย่ จนกว่าโครงการบำบัดใหม่จะเริ่มขึ้น

ภูเก็ต - ดูเหมือนว่าคุณภาพของนํ้าทะเลชายหาดป่าตอง แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกและต้องรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ มีแววจะแย่ลง เพราะชายหาดที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมายลโฉมและลงเล่นนํ้าแห่งนี้ คุณภาพของนํ้าจะยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นจนกว่าระบบพัฒนานํ้าเสียของเทศบาลเมืองป่าตองจะได้รับการปรับปรุงจนแล้วเสร็จ ซึ่งโครงการดังกล่าวนั้นมีแผนจะเริ่มขึ้นภายใน 3 เดือนนี้

ธัญลักษณ์ สากูต

วันอาทิตย์ ที่ 10 กันยายน 2560, เวลา 14:00 น.

และจนกว่าโครงการบ่อบำบัดใหม่จะแล้วเสร็จนั่นเอง ทางเทศบาลก็มีความกังวลว่า ขีดความสามารถในการบำบัดนํ้าเสียก่อนถูกปล่อยลงชายหาดป่าตองนั้นอาจจะลดลงได้

ซึ่งข่าวนี้เกิดมาจากรายงานคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2560 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน ที่แสดงให้เห็นผลการรายงานคุณภาพนํ้าชายหาดป่าตองนั้นอยู่ในระดับตํ่าอย่างต่อเนื่อง

โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันได้ติดตั้งเครื่องตรวจคุณภาพนํ้าเป็นจำนวน 23 จุดทั่วชายฝั่งทะเลภูเก็ต เพื่อดำเนินการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลบริเวณรอบเกาะภูเก็ตเป็นประจำทุก 2 เดือน โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นหลังการมีการเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกันจากจากเอกอัคราชทูต 17 คนจากกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปเมื่อปี 2556 ในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพนํ้าชายฝั่ง

มีการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพนํ้าทะเลทั่วไป ได้แก่ ความเค็ม อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ปริมาณออกซิเจนละลายนํ้า ตะกอนแขวนลอยและปริมาณสารอาหาร เป็นต้น รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ที่จะถูกเก็บมาวิเคราะห์หาดัชนีตรวจวัดคุณภาพนํ้าทะเล

รายงานระบุว่า “จากการติดตามตรวจสอบฯ ประจำปี 2560 พบว่าสถานะคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่ง รอบเกาะภูเก็ตตั้งแต่ตุลาคม 2559 - กรกฎาคม 2560 ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะดี รองลงมาสถานะพอใช้ ยกเว้นในบางสถานีและบางช่วงเวลาที่มีสถานะเสื่อมโทรม (ยกเว้นสถานีป่าตอง 1 มีสถานะเสื่อมโทรมตลอดเวลาที่ศึกษา)

ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพนํ้า คือโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมดในนํ้า และปริมาณสารอาหารโดยเฉพาะช่วงเข้าฤดูมรสุม”

ในขณะเดียวกัน เทศบาลเมืองป่าตอง ได้เผยรายงานสรุปผลของการบำบัดน้ำเสียของเดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งระบุว่าค่า BOD (Biochemical Oxygen demand) หรือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารที่มีอยูในน้ำนั้นมีน้อยกว่า 20 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมายความว่าคุณภาพนํ้ายังไม่ตํ่าเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

แม้ว่านางสาวเฉลิมทรัพย์ เก็บทรัพย์นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง จะยอมรับว่า มีนํ้าเสียจำนวนมากที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลป่าตอง ซึ่งนํ้าที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดนั้นมาจากโรงแรมในพื้นที่ป่าตอง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังไม่ได้ทำระบบเชื่อมต่อกับท่อนํ้าเสียของเทศบาล หรือเชื่อมต่อแต่อาจจะไม่ได้เปิดระบบบำบัด เพื่อนำไปสู่การบำบัดในโรงบำบัดนํ้าเสียและปล่อยลงสู่คลองปากบางต่อไป

“ทางเรารับทราบว่าบางสถานประกอบการเช่นโรงแรมได้มีการปล่อยนํ้าเสียลงสู่ทะเลแต่ในบางครั้งสภาพอากาศก็เป็นส่วนที่ทำให้นํ้าเสียถูกนำไปสู่ธรรมชาติ ซึ่งตอนนี้เรากำลังพยายามหาทางแก้ไขนํ้าเสียอยู่อย่างจริงจัง”

“ทางเทศบาลป่าตองได้มีการดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการที่ทั้งเล็กและใหญ่ที่ปล่อยนํ้าเสียสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ง่าย เพราะเราไม่สามารถไปจับตาสถานประกอบการได้ตลอดเวลา แต่เราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด” นางสาวเฉลิมลักษณ์ กล่าว

ตอนนี้โครงการบำบัดนํ้าเสียมีกำลังพอที่จะบำบัดนํ้าทั้งหมดที่ได้รับมาจากสถานประกอบการในพื้นที่ ซึ่งนายกเมืองป่าตองกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงพีคที่สุดของหน้าไฮซีซั่นอาจมีปริมาณนํ้าเสียมากกว่าปกติจนถึงขั้นล้นเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ร้านอาหารและโรงแรมบางส่วนยังปล่อยนํ้าเสียอย่างผิดกฎหมายอีกด้วย

“ฉะนั้นเราจึงได้วางแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโรงบำ บัดนํ้าเสีย ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 4 โดยการเพิ่มความจุของถังบำบัดเป็นถังขนาดใหญ่จำนวน 2 ถังแทนอันเก่าที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532”

ด้านเจ้าหน้าที่ช่างของฝ่ายกองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมืองป่าตอง เปิดเผยว่า การติดตั้งถังบำบัดนํ้าอันใหม่นั้นจะเริ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาติดตั้งจนแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี

นางสาวเฉลิมลักษณ์ กล่าวว่า โครงการนี้ใช้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2561 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 125 ล้านบาท ซึ่งทางสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อมได้จัดสรรงบประมาณมาแล้วจำนวน 110 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือทางเทศบาลเมืองป่าตองจะเป็นผู้รับผิดชอบ จากนั้นในปีงบประมาณ 2562 ทางเทศบาลมีโครงการที่จะทำ ท่อพร้อมเครื่องสูบนํ้า เพื่อต่อเข้ากับทางสถานประกอบการทั้งฝั่งกะหลิม กมลา (บางส่วน) และฝั่งหาดไตรตรังและคอรัลบีช เขา้ สู่ระบบบำบัดของเทศบาล

อย่างไรก็ตาม จนกว่าโครงการโรงบำบัดนํ้าเสียใหม่จะแล้วเสร็จ ทางเทศบาลเมืองป่าตองจะดำเนินการสุ่มตรวจสถานประกอบการต่างๆ ในพื้นที่ป่าตองว่ามีการปล่อยนํ้าเสียว่าผิดกฎหมายหรือไม่ หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าว จะถูกปรับค่าเสียภาษีนํ้าเสียที่มากกว่าปกติหลายเท่าตัว

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่