ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบก่อนเชื่อข่าวลวง “ภาพถ่ายดาวเทียมคนตายเกลื่อนถนนเมืองจีน”

เช้าวันนี้ (3 ก.พ.) สำนักข่าว เอเอฟพี ในอินโดนีเซีย เปิดเผยภาพของผู้คนจำนวนมากนอนเกลื่อนพื้นถนน ซึ่งได้มีการบรรยายภาพดังกล่าวว่า เป็นภาพถ่ายดาวเทียมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ความจริงแล้วภาพดังกล่าวเป็นภาพ “งานศิลปะ” ที่ผู้คนร่วมใจกันสร้างขึ้นมา โดยเป็นหนึ่งในโปรเจคผลงานศิลป์ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อปี 2014

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563, เวลา 15:34 น.

โดยภาพดังกล่าวถูกแชร์ออกไปหลายพันครั้ง ในหลากหลายโพสต์บนหน้าเฟซบุ๊ก พร้อมกับคำบรรยายถึงภาพดังกล่าว ที่อ้างว่าภาพของผู้คนที่เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบรุนแรงจากเชื้อไวรัสโคโรนาที่ประเทศจีนที่พบว่ากำลังมีการระบาดอย่างหนักของโรคนี้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งเพ เพราะในความเป็นจริงภาพนี้คือภาพของกลุ่มคนที่ได้เข้ามาร่วมกันจัดแสดงชิ้นงานศิลป์ ซึ่งเกิดขึ้นภายใน นครแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อปี 2014 เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหล่าบรรดาเหยื่อค่าย Katzbach ซึ่งเป็นค่ายกักกันของนาซีที่เคยมีอยู่ในแฟรงก์เฟิร์ต เอเอฟพี รายงาน

ภาพดังกล่าวถูกโพสต์ขึ้นบนแฟลตฟอร์มเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา และถูกแชร์ออกไปจำนวนมาก พร้อมคำบรรยายภาพเป็นภาษาอินโดนีเซียซึ่งแปลได้ว่า “ภาพถ่ายดาวเทียมในจีน ผู้คนมากมายล้มตายเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ยาต้านไวรัสยังไม่ถูกค้นพบ ไม่มีกำลังทหารจากหน่วยใดสามารถป้องกันผู้คนจากไวรัสชนิดนี้ นี่เป็นการลงโทษอย่างนั้นหรือ?” ซึ่งโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก พร้อมคำบรรยายภาพในทำนองเดียวกัน

ซึ่งจากการตรวจสอบจากกูเกิลอิมเมจ พบว่าภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 โดยมีคำบรรยายภาพระบุว่า “ผู้คนกำลังนอนอยู่บริเวณเวณทางเดินเท้า เป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานศิลปะเพื่อระลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากค่ายกักกัน Katzbach แห่งกองทัพนาซีในแฟรงค์เฟิร์ตจำนวน 528 คน, 24 มีนาคม 2014 ผู้ต้องขังในค่ายกักกัน Katzbach ส่วนหนึ่งของโรงงาน Adler ในอดีตถูกบังคับให้เดินทัพไปยังค่ายกักกัน Buchenwald และ Dachau เมื่อ 24 มี.ค. 1945 โดยร่างของเหยื่อค่าย Katzbach ทั้ง 528 คนถูกฝัง ณ สุสานกลางของนครแฟรงค์เฟิร์ต”

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่