ซึ่งได้มีการนำรูปแบบการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ชุมชนในการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินมาใช้ในการดำเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดสรรที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติให้กับภาคประชาชนอย่างยั่งยืน
พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมในการปกป้องผลทรัพยากรของชาติและการทวงคืนผืนป่า โดยเฉพาะพื้นที่ชายทะเลของภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่ทราบกันดีกว่ามีมูลค่าสูงมาก ซึ่งที่ผ่านมามีกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพลมีการบุกรุกและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นของรัฐต้องตกไปเป็นของนายทุน ในส่วนนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีเกี่ยวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาแล้วหลายคดี
“จากการทำงานดังกล่าวจึงได้มีการส่งโครงการการมีส่วนร่วมในภาคประชาชนในการปกป้องทวงคืนผืนป่าเขตอุทยานแห่งชาติสินาถ ในการรับรางวัลเลิศรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาทางกรมฯ ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน โดยเฉพาะการออก ส.ค.1 โดยมิชอบ ดังนั้นการที่ภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมช่วยสำรวจ ส.ค.1 ที่แท้จริง ทำให้พื้นที่ของอุทยานฯ ได้คืนกลับมาเป็นของรัฐ” พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าว
ด้าน พ.ต.ท.ประวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยกรมอุทยานฯ ได้ส่งเรื่องมาให้ทางดีเอสไอดำเนินการกับผู้ที่บุกรุก โดยเฉพาะผู้ที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ และจากการศึกษาปัญหา พบว่า ส.ค.1 คือ ต้นเหตุ หากไม่แก้ไขโอกาสที่จะเกิดปัญหาการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำปัญหาดังกล่าวมาพูดคุยกับภาคประชาชน เพราะหากไม่ร่วมมือกันโอกาสที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกได้ยาก เนื่องจากประชาชนจะรู้จักตำแหน่งที่ดินมากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ”
“สำหรับการดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะจำนวน 178 ไร่ บริเวณชายหาดลายัน –หาดเลพัง ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของจังหวัดภูเก็ตนั้น หากเจ้าของพื้นที่ไม่สามารถจัดการได้ ขอให้ร้องเรียนเข้ามา ทางดีเอสไอจะรับดำเนินการต่อไป” พ.ต.ท.ประวุธ กล่าว