นาทีชีวิต เรียนรู้การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลฉุกเฉิน

จังหวัดภูเก็ตได้เข้าสู่ฤดูแห่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ซึ่งนั่นก็ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้เห็นถึงอันตรายแห่งท้องทะเล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายถึงทุกคนจะทราบและเข้าใจในเรื่องนี้

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 19 มิถุนายน 2566, เวลา 09:03 น.

เพราะเห็นได้ชัดจากสถานการณ์การจมน้ำในภูเก็ตในช่วงนี้ที่ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการหลีกเลี่ยงอันตรายจากธรรมชาติ ที่ไม่ได้หมายถึงการที่คุณจะสามารถเลี่ยงอันตรายจากคลื่นทะเลได้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการที่คุณสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้อีกด้วย

The Phuket News รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญได้แยกสองขั้นตอนก่อนการจมน้ำออกเป็นช่วงของความทุกข์ทรมาน (AD) และการตอบสนองต่อการจมน้ำโดยสัญชาตญาณ (IDR) โดยในช่วงเอดีผู้ที่ประสบภัยจะรู้ตัวว่ามีบางอย่างผิดปกติและพยายามดิ้นรน ความตื่นตระหนกและความตกใจอาจเกิดขึ้น แต่ยังคงสามารถทำบางอย่างเพื่อให้รอดชีวิตได้ เช่น การร้องขอความช่วยเหลือหรือคว้าสายชูชีพ

ในระยะเอดีจะเกิดขึ้นอยู่ได้ไม่นานและตามมาด้วยระยะไอดีอาร์ โดยผู้ประสบภัยจะไม่สามารถควบคุมร่างกายได้อีกต่อไป และจะต่อสู้โดยสัญชาตญาณของตนเอง เพียงเพื่อให้มีโอกาสที่จะหายใจเอาอากาศเข้าไปเท่านั้น!

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือคนกำลังจมน้ำในตอนนั้นจะไม่ส่งเสียง ร่างกายจะรักษาตำแหน่งแนวตั้งโดยให้ปากอยู่เหนือน้ำเพื่อให้สามารถหายใจออก หายใจเข้า แล้วจะจมลงไปอีกครั้ง ซึ่งผู้ประสบเหตุจะไม่สามารถส่งสัญญาณด้วยมือหรือจับสายชูชีพได้ ร่างกายต่อสู้เพื่อความอยู่รอดโดยสัญชาตญาณโดยไม่สนใจสิ่งอื่นใด วิธีที่ดีที่สุดในการพิจารณาว่าผู้ประสบเหตุยังโอเคหรือไม่ คือถามไปตรง ๆ หากไม่สามารถตอบสนองได้ก็จำเป็นต้องดำเนินการทันที

ขั้นตอนแรกคือการดึงดูดความสนใจโดยไม่ต้องกลัวที่จะส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาด ทำผิดดีกว่าเสียใจภายหลัง จากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือคำว่า ‘golden rule’ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งกฎทองสำหรับผู้ช่วยชีวิตคือต้องไม่เพิ่มจำนวนคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ลงน้ำเมื่อคุณมั่นใจเท่านั้น มิฉะนั้น ขอให้ช่วยเหลือด้วยการตามหาผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้จริง ๆ
หากผู้ประสบเหตุขึ้นฝั่งแล้ว วัตถุประสงค์หลักคือการช่วยเหลือจนกว่าความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะมาถึง วินเซนต์ โมเดลล์ เจ้าหน้าที่กู้ภัยบนเกาะภูเก็ตที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปีอธิบายเพิ่มเติม

“ขั้นตอนที่หนึ่ง – มองหาไลฟ์การ์ด ขั้นตอนที่สอง – โทร 1669 และเรียกรถพยาบาล ขั้นตอนที่สาม – เป่าปากช่วยผู้ป่วย 2 ครั้ง ให้ผู้ประสบเหตุนอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านหลัง อ้าปาก ใช้นิ้วบีบจมูก และหายใจเอาอากาศเข้าทางปาก 2 ครั้ง จากนั้นตรวจสอบการหายใจ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 10 วินาที หากไม่หายใจ ให้ทำ CPR หากคุณมั่นใจ” นายวินเซนต์ ให้คำแนะนำ

หากต้องการเรียนรู้เทคนิคการปฐมพยาบาล วินเซนต์ กรุณาติดต่อ Basic Life Support Services Phuket โดยค้นหาเพจบนเฟซบุ๊ก หรือโทร. 080 864 8092 เพื่อสอบถามทีมแพทย์ที่ไม่เพียงช่วยชีวิตเท่านั้น แต่ยังฝึกสอนผู้อื่นให้สามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ Phuket Lifeguard Service เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถติดต่อได้ทางเฟซบุ๊ก หรือโทร 081 797 4775

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่