1.1 ผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนประกาศสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต เรื่อง ชะลอการจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศณวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ให้นำเอกสารมายื่นขอรับจดทะเบียน (รว.18) ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 ธันวาคม 2567
1.2 กรณีจำนวนรถที่มาขอจดทะเบียน รย.18 จากข้อ 1.1 เหลืออยู่เท่าใด ก็ให้สิทธิ์ผู้ที่มีความประสงค์จะจดทะเบียน รย.18 ได้โดยนำเอกสารหลักฐานมายื่นขอ รับจดทะเบียนณสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในข้อ 1
หมายเหตุ กรณีเอกสารหลักฐานไม่ครบให้สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาเพื่อจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (รย. 18)
2. การจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่มิเตอร์) จดทะเบียนเพิ่มได้อีกจำนวน 558 คัน (โดยกำหนดให้จดได้ไม่เกิน 1,800 คัน ซึ่งในปัจจุบันมี 1,242 คัน)
3. กรณีผู้ที่จดทะเบียนรถยนต์บริการประสงค์จะเปลี่ยนประเภทมาจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (รย.18) ให้เปลี่ยนประเภทได้โดยไม่ถือเป็นการเพิ่มจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (รย. 18) ตามข้อ 1 แต่อย่างใด
หมายเหตุ ผู้ประสงค์มายื่นควรมายื่นเอกสารด้วยตนเอง
ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2566 กลุ่มผู้ประกอบการนำรถประเภทต่าง ๆ กว่า 3,500 คัน มาจอดภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดภูเก็ตและถนนด้านหน้าศาลากลางฯ เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ หลังจากประสบปัญหามีการนำรถผิดกฎหมายมาวิ่งรับส่งผู้โดยสาร อาทิ รถ รย.18 ซึ่งเป็นป้ายต่างจังหวัด รถป้ายดำ เป็นต้น และก่อนหน้านั้นทางกลุ่มแท็กซี่มิเตอร์ภูเก็ตก็ได้รวมตัวยื่นหนังสือขอความเห็นใจ เนื่องจากพวกตนเดือดร้อนหนักจากรถวิ่งแอปฯ ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตเองก็ได้มีการประชุมติดตามการแก้ปัญหาความเดือดร้อนกลุ่มผู้ให้บริการแท็กซี่อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งต่อมาในเดือนมิถุนายน 2567 ที่ประชุมซึ่งมี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ในขณะนั้น) เป็นประธานการประชุมในวาระเกี่ยวกับความขัดแย้งของรถรับจ้างของจังหวัดภูเก็ต โดยมติที่ประชุม ทางหัวหน้าขนส่งจังหวัดภูเก็ต รับปากว่าจะดำเนินการยกเลิกคำสั่งในการชะลอจดทะเบียนรถรับจ้างผ่านแอปพลิเคชั่น (รย.18) เพื่อให้มีการเปิดเสรีและแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม