ผู้ป่วยโควิด-19 ภูเก็ตยืนยันติดเชื้อ 161 ราย เพิ่ม 21 รักษาหายกลับบ้าน 45 รอผล 104

ภูเก็ต - วันนี้ (9 เม.ย.) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. – 8 เม.ย. จังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 แล้วจำนวน 161 ราย (รายใหม่ 21 ราย) ผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน 45 ราย จำหน่าย 1 ราย (* จำหน่ายด้วยเสียชีวิตจากเหตุการณ์อื่น) กำลังรักษาพยาบาลอยู่ 97 ในจำนวนนี้ อาการรุนแรง 3 ราย เสียชีวิต 0 ราย

เอกภพ ทองทับ

วันพฤหัสบดี ที่ 9 เมษายน 2563, เวลา 12:57 น.

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดภูเก็ต วันที่ 9 เมษายน 2563

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดภูเก็ต วันที่ 9 เมษายน 2563

ผู้มีอาการเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,946 ราย (รายใหม่ 100 ราย) ตรวจไม่พบเชื้อกลับบ้านแล้ว 1,727 ราย ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาตัวที่โรงพยาบาล 115 ราย อยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 104 ราย ข้อมูลจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ วันที่ 8 เม.ย. 63 เวลา 18.00 น.

ทั้งนี้ สำหรับรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายที่ นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เปิดเผยเมื่อวันที่ 6 เม.ย.ว่า นักท่องเที่ยวชาวฮังกาเรียนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อาจได้รับเชื้อโควิด-19 ในขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะมีส่วนในการเสียชีวิตครั้งนี้ โดยชายคนดังกล่าวไม่ยอมเปิดเผยว่ามาจากพื้นที่เสี่ยง ทำให้เจ้าหน้าแพทย์พยาบาล จนท.ศูนย์ไข่มุก ต้องกักตัว รวม 112 คน (อ่านเพิ่มเติม คลิก) ล่าสุดจังหวัดภูเก็ตรายงานเป็นเสียชีวิต 0 ราย (คณะกรรมการระบุว่าจำหน่ายด้วยเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น)

สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 รายใหม่ทั้ง 21 ราย มีรายละเอียดดังนี้

รายที่ 141 ผู้ชายไทย อายุ 23 ปี อาชีพว่างงาน เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 104 พักอาศัยที่ ต.รัษฏา เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 29 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 3 คน

รายที่ 142 ผู้หญิงไทย อายุ 18 ปี อาชีพค้าขาย เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดและพักอาศัยที่บ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 119 ในพื้นที่บางเทา เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 1 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 2 คน

รายที่ 143 เด็กหญิงไทย อายุ 6 ปี อาชีพนักเรียน เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดและพักอาศัยที่บ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 117 ในพื้นที่บางเทา ยังไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 4 คน

รายที่ 144 ผู้ชายไทย อายุ 40 ปี อาชีพพนักงานโรงแรม เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดและพักอาศัยที่บ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 117 ในพื้นที่บางเทา เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 2 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 2 คน

รายที่ 145 ผู้หญิงไทย อายุ 50 ปี อาชีพแม่บ้าน เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 119 อาศัยในพื้นที่บางเทา ยังไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 2 คน

รายที่ 146 ผู้หญิงไทย อายุ 35 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงบริเวณซอยบางลา พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 25 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 6 คน

รายที่ 147 ผู้หญิงไทย อายุ 23 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 146 พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 7 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 1 คน

รายที่ 148 ผู้ชายไทย อายุ 32 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงแห่งหนึ่งบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 73 พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 21 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 1 คน

รายที่ 149 ผู้หญิงไทย อายุ 39 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 148 พักอาศัยในต.กะทู้ เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 2 เมษายน ไม่มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง

รายที่ 150 ผู้หญิงไทย อายุ 27 ปี อาชีพพนักงานต้อนรับโรงแรมในเขตป่าตอง ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 113 และ 135 พักอาศัยในต.ตลาดเหนือ เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 30 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 1 คน

รายที่ 151 ผู้หญิงไทย อายุ 28 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 148 พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 29 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 11 คน

HeadStart International School Phuket

รายที่ 152 ผู้ชายไทย อายุ 30 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงแห่งหนึ่งบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 148 พักอาศัยในต.กะทู้ เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 6 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 2 คน

รายที่ 153 ผู้หญิงไทย อายุ 44 ปี อาชีพพนักงานนวด เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน

รายที่ 131 พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 3 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 4 คน

รายที่ 154 ผู้หญิงไทย อายุ 30 ปี อาชีพพนักงานนวด ทำงานร้านที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยัน

รายที่ 153 และเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 131 พักอาศัยในป่าตอง ยังไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 4 คน

รายที่ 155 ผู้ชายไทย อายุ 35 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงแห่งหนึ่งบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 148 พักอาศัยในต.ตลาดเหนือ ยังไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 8 คน

รายที่ 156 ผู้ชายไทย อายุ 29 ปี อาชีพดีไซน์เนอร์ ร้านตัดเสื้อในป่าตอง พักอาศัยที่ป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 30 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 5 คน

รายที่ 157 ผู้หญิงไทย อายุ 40 ปี อาชีพพนักงานนวด ทำงานร้านที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 131 และเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 153 พักอาศัยในป่าตอง ยังไม่มีอาการป่วย มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 4 คน

รายที่ 158 ผู้ชายไทย อายุ 39 ปี อาชีพพนักงานสถานบันเทิงแห่งหนึ่งบริเวณซอยบางลา ทำงานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 148 พักอาศัยในต.กะทู้ เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 5 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 2 คน

รายที่ 159 ผู้ชายไทย อายุ 23 ปี อาชีพพ่อครัวโรงแรม เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดและพักอาศัยที่บ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 119 ในพื้นที่บางเทา เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 4 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 12 คน

รายที่ 160 ผู้หญิงไทย อายุ 43 ปี อาชีพแม่บ้าน มีประวัติไปเที่ยวสถานบันเทิงบริเวณซอยบางลาบ่อยครั้ง และสัมผัสใกล้ชิดกับชาวต่างชาติ พักอาศัยในป่าตอง เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 28 มีนาคม มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 1 คน

และรายที่ 161 ผู้ชายไทย อายุ 30 ปี อาชีพทำอาหารขายส่ง พักอาศัยในพื้นที่บางเทา เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 4 เมษายน มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงจำนวน 13 คน

สำหรับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 ที่พบเพิ่มในวันนี้ 19 จาก 21 รายเป็นกลุ่มที่พบจากการตรวจหาเชื้อเชิงรุก ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเพิ่มเป็นพิเศษในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อค้นหาผู้ป่วยกลุ่มผู้ที่มีอาชีพเสี่ยงสูง อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และผู้สัมผัสของผู้ป่วยยืนยัน จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่าโรคโควิด-19 นี้สามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ที่เดียวกัน ทำงานใกล้ชิดกัน มีการพูดคุย สัมผัส หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

คณะกรรมการฯ จึงอยากจะเน้นย้ำเรื่องมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ถึงแม้จะไม่มีอาการป่วยก็ควรแยกตัวเองออกจากบุคคลอื่น งดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ไม่เข้าไปในที่ชุมชน ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลที่เรารัก และถ้าหากมีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ปวดศีรษะ ถ่ายเหลว ให้รีบไปพบแพทย์

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่