กระทรวงแรงงานยังเปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาได้ภายใน 2 ปี

นายจักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะได้รับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม กรณีนายจ้าง หรือรัฐบาล สั่งให้หยุดงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 31 สิงหาคม 2563 และนายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ให้มารับเงินจากสำนักงานประกันสังคมได้ แต่ต้องหยุดงานรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 25 พฤษภาคม 2563, เวลา 10:47 น.

กรณีนายจ้าง รัฐบาลสั่งให้หยุดงาน นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ให้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคมได้ ภาพประกอบข่าว James Cridland

กรณีนายจ้าง รัฐบาลสั่งให้หยุดงาน นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ให้รับเงินจากสำนักงานประกันสังคมได้ ภาพประกอบข่าว James Cridland

โดยมีผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ จำนวน 1.2 ล้านคน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาไปแล้วกว่า 1 ล้านคน วงเงิน 6,562 ล้านบาท ส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ 88,548 คน และอยู่ระหว่างรอนายจ้างรับรองอีก ประมาณ 18,000 คน ทั้งนี้ผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิ์ยื่นขอรับการเยียวยาได้ภายใน 2 ปี ซึ่งเป็นการเปิดกว้างกรณีตกหล่น หรือหลงลืม เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียสิทธิ์

สำหรับกรณีถูกเลิกจ้าง กรณีไม่มีความผิดจะได้รับเงินเยียวยา จากสำนักงานประกันสังคม ร้อยละ 70 เป็นเวลา 200 วัน โดยให้ไปแจ้งที่กรมการจัดหางานว่าว่างงาน ก่อนจะมาแจ้งรับเงินเยียวยา กรณีชราภาพ เงื่อนไข อายุ 55 ปีขึ้นไป ลาออก หรือสิ้นสุดจากผู้ประกันตน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่ถึง 12 เดือน หากออกจากงาน จะได้รับเงินที่ถูกหักร้อยละ 3 ต่อเดือนที่สะสมไว้ หากส่งน้อยกว่า 180 งวด(15 ปี) จะได้จากนายจ้างอีกร้อยละ 3 รวมเป็นร้อยละ 6 บวกกับดอกเบี้ย กรณีส่งมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หากส่งมากกว่า 180 เดือน(15ปี)ขึ้นไป จะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนจนกระทั่งเสียชีวิต

ในส่วนของข่าวที่มีออกมาว่าจะนำเงินกองทุนชราภาพมาเยียวยา นายจักษ์ ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะด้วยตัวบทกฎหมายและความมั่นคงในชีวิตของผู้ใช้แรงงาน

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่