นั่งรถไฟจากไทยไปยุโรป เปิดเส้นทางที่ยาวที่สุดในโลก

เส้นทางที่ลากยาวตั้งแต่ตอนใต้ของโปรตุเกส ข้ามทวีปยูเรเซีย (ยูโรป-เอเชีย) ผ่านประเทศไทยไปจบที่สิงคโปร์ มันกลายเป็นจริงขึ้นมาหลังเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว

โพสต์ทูเดย์

วันพฤหัสบดี ที่ 16 ธันวาคม 2564, เวลา 10:49 น.

ภาพคำนวณความเป็นไปได้โดยมาร์ก สมิธ เจ้าของเว็บไซต์แฟนรถไฟ ตัวยง

ภาพคำนวณความเป็นไปได้โดยมาร์ก สมิธ เจ้าของเว็บไซต์แฟนรถไฟ ตัวยง

เรื่องนี้ถูกนำเสนอโดยสมาชิกในแพลตฟอร์ม Reddit และคำนวณความเป็นไปได้โดย มาร์ก สมิธ (Mark Smith) เจ้าของเว็บไซต์แฟนรถไฟตัวยง seat61.com.

หากเดินทางจากโปรตุเกสจะเริ่มต้นที่อัลการ์วึ (Algarve) เป็นภูมิภาคทางใต้สุดของประเทศโปรตุเกสภาคพื้นทวีป ซึ่งเป็นแนวชายฝั่งที่มีหลายเมืองเป็นแนวยาวและเชื่อมต่อด้วยทางรถไฟเหมือนๆ กัน

จากอัลการ์วึจะข้ามโปรตุเกส ตัดผ่านสเปน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปแลนด์, เบลารุส จากนั้นจะเข้าสู่รัสเซียเพื่อต่อเส้นทางรถไฟข้ามทวีป "ทรานไซบีเรีย" จากนั้นจะเข้ามองโกเลียแล้วเข้าสู่เส้นทางรถไฟอันยาวเหยียดขของจีน

ก่อนหน้านี้ การเดินทางด้วยรถไฟต่อเนื่องในเส้นทางนี้จะออกจากจีนที่เขตปกครองตนเอกว่างซีจ้าง (ที่หนานหนิง) หรือจะไปใช้เส้นทางคุตนหมิง-ไฮฟอง (ที่มณฑลยูนนาน) ก็ได้ ไม่ว่าจะอย่างตาม เส้นทางข้ามยูเรเซียจะต้องสิ้นสุดที่เวียดนามอยู่ดี รวมระยะประมาณ 16,898 กม. ในการเดินทางไปจบปลายทางจริงๆ คือสิงคโปร์ ผู้โดยสารจะต้องขึ้นรถบัสจากไซง่อน ผ่านกัมพูชาไปกรุงเทพฯ

แต่หลังจากวันที่ 2 ธันวาคม เมื่อมีการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว อย่างเป็นทางการ เส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์ก็เป็นไปได้ และการเดินทางจากเวียงจันทน์ผ่านหนองคายมาถึงกรุงเทพฯ ก็เป็นไปไดเ รวมถึงจากกรุงเทพฯ ผ่านมาเลเซีย ไปจบที่สิงคโปร์ก็เป็นไปได้แล้ว รวมระยะทางทั้งสิ้น 18,755 กม.

สมิธ ผู้ดูแลเว็บไซต์ seat61.comเชื่อว่าจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 21 วันจึงจะเสร็จสิ้น

แม้จะยังมีการเดินทางข้ามจะยังไม่สะดวกเพราะการระบาดใหญ่ก็ตาม แต่ในอนาคตมันย่อมสามารถทำได้แน่นอนเมื่อทุกประเทศผ่อนคลายมาตรการ

ทั้งนี้สมาชิก Reddit ที่ชื่อ htGoSEVe ระบุว่า

1. รถไฟจากลิสบอน (โปรตุเกส) ไปอองดาเย (ฝรั่งเศส) ถูกระงับเนื่องจากโควิด-19

2. เส้นทาง Paris-Moscow Express (ฝรั่งเศสไปรัสเซีย) ก็ถูกระงับเช่นกันเนื่องจากโควิด-19

3. มีเส้นทางที่สั้นกว่าผ่านคาซัคสถานแทนที่จะใช้เส้นทางทรานไซบีเรีย เขาเสนอเส้นทาง อัลมาตี -> อุรุมชี -> ซีอาน -> คุนหมิง (จากคุนหมิงมายังเวียงจันทน์ กรุงเทพ และสิงคโปร์)

4. ต้องเปลี่ยนการขนส่งจากยะโฮร์บาห์รู (มาเลเซีย) ไปยังสิงคโปร์ (ในอนาคตอาจมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง Kuala Lumpur–Singapore High Speed Rail)

อ่านโพสต์ทูเดย์ คลิก

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่