น้องหมากับหน้าที่อันใหญ่ยิ่ง ความแตกต่างระหว่าง สุนัขยาใจ, สุนัขบำบัด และสุนัขช่วยเหลือคนพิการ

ตำแหน่งงานของน้องหมาได้มีอัตราการเติบโตและมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันพวกเราทุกคนต่างก็คุ้นเคยกับสุนัขตำรวจซึ่งรับผิดชอบหน้าที่ในการค้นหาและช่วยเหลือ รวมถึงการทำหน้าที่สุนัขนำทาง ซึ่งมีคำเรียกขานถึงงานและหน้าที่ต่าง ๆ ของน้องหมาที่ทำให้คนคิดไปว่ามันคือสิ่งเดียวกัน และในขณะที่กฎหมายควบคุมสัตว์บริการหรือสัตว์ช่วยเหลือของที่นี่ ยังไม่ได้ถูกพูดถึงและได้รับความสนใจมากเท่าไรนัก แต่อย่างน้อยเราก็ยังได้รู้ว่าผู้คนเขาหมายความถึงอะไร เมื่อเวลาที่เขาพูดกันถึงขอบเขตงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปของน้องหมาแต่ละตัว

ข่าวภูเก็ต

วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤษภาคม 2562, เวลา 11:00 น.

สัตว์ให้ความช่วยเหลือทางอารมณ์ (Emotional support animals หรือ ESA)
อธิบายได้ง่าย ๆ คือ สุนัขหรือสัตว์ผู้ให้ความช่วยเหลือทางอารมณ์หรือความเจ็บป่วยทางจิตใจ หมายถึงคู่หูที่เอื้อประโยชน์ด้านการบำบัดให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ESA ไม่ต้องการการฝึกอบรมหรือบททดสอบพิเศษใด ๆ มันคือการที่สัตว์ตัวนั้นปรากฏตัวอยู่รอบ ๆ เพื่อทำให้เจ้าของรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกว่ามีที่พึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อบังคับในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และ สหราชอาณาจักร สุนัขช่วยเหลือทางอารมณ์ได้รับอนุญาตให้บินในห้องโดยสารกับเจ้าของได้ หรือได้รับอนุญาตให้เข้าพักในโรงแรมได้ ยกเว้นสถานที่ซึ่งติดป้าย ‘ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้า’ อย่างไรก็ตาม ESA ไม่ใช่สัตว์บริการ ดังนั้นสิทธิ์ในการเข้าถึงสถานที่สาธารณะจึงมีอย่างจำกัดมากกว่า

สุนัขบำบัด (Therapy dogs)
สุนัขเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน ซึ่งมักจะพาเจ้าของไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาซึ่งความสะดวกสบาย และส่งมอบความรักให้แก่ผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นการไปเยี่ยมบ้านพักคนชราหรือเด็ก ๆ ในแผนกผู้ป่วยเด็ก (หรือในแบบที่เรากำลังทำกันอยู่ ณ เกาะภูเก็ตแห่งนี้) ในการให้ความช่วยให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนพัฒนาทักษะการอ่านของพวกเขา เนื่องจากปัญหาทางด้านข้อบังคับ ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้มีสุนัขบำบัดเข้าไป เว้นแต่จะได้รับการประเมินและรับรอง Canine Point Academy เป็นผู้ประเมิน AKC ที่ได้รับการรับรองเพียงรายเดียวในประเทศไทย ที่สามารถประเมินและรับรองสุนัขบำบัด เป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่าสุนัขบำบัดไม่ใช่สุนัขที่ให้บริการ ดังนั้นจึงไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายใด ๆ และไม่มีสิทธิ์เข้าถึงสถานประกอบการหรือการขนส่งสาธารณะ

สุนัขบริการ (Service dogs)
ความแตกต่างที่ชัดเจนของสุนัขบริการ คือ พวกมันไม่ใช่สัตว์เลี้ยง แต่เป็นสุนัขที่ผ่านการฝึกอบรมขั้นสูง ซึ่งได้เรียนรู้และฝึกฝนเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือคนพิการ โดยมีเอกสารรับรองเฉพาะ ระบุความสามารถของสุนัขแต่ละตัวในการให้ความช่วยเหลือผู้พิการแต่ละประเภทโดยชัดเจน ซึ่งสุนัขนำทางถือเป็นตัวอย่างที่ดี ในการใช้อธิบายความหมายของสุนัขให้บริการ สุนัขยังได้รับการฝึกฝนให้ช่วยผู้บกพร่องทางการได้ยิน ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต (PTSD) หรือเตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ปรับระดับน้ำตาลในเลือด สุนัขบริการยังสามารถให้บริการฟังก์ชั่นจำเพาะ เช่น ช่วยกดปุ่ม, เปิดประตู, หยิบวัตถุ หรือแจ้งเตือนผู้อื่นเมื่อเจ้าของไม่ตอบสนอง

ทั้งนี้ สุนัขประเภทดังกล่าวต้องการความสงบอย่างยิ่ง ทั้งในด้านของร่างกายและจิตใจ เพื่อการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีเยี่ยม และในอดีตเราเคยเห็นสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ด, ลาบราดอร์ หรือโกลเดนรีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่ถูกฝึกมาเพื่อใช้งานในการให้ความช่วยเหลือ แต่ทุกวันนี้มีสุนัขเป็นจำนวนมากที่ถูกฝึกและนำมาใช้ในลักษณะเช่นนี้

สุนัขบริการมักจะได้รับอนุญาตให้ไปไหนมาไหนพร้อมกับผู้ดูแลได้ทุกที่ ซึ่งรวมถึงร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารต่าง ๆ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม อย่างไรก็ตามผู้ดูแลสามารถถูกขอให้นำสุนัขของพวกเขาออกไป หากสุนัขเหล่านั้นมีพฤติกรรมไม่ดี หรือเป็นภัยคุกคามโดยตรงกับผู้คนในบริเวณนั้น สุนัขบริการไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อกั๊ก ติดป้ายพิเศษหรือสวมปลอกคอ พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีบังเหียนพิเศษหรือบัตรประจำตัว อย่างไรก็ตามผู้ดูแลสุนัขเหล่านี้ส่วนใหญ่เลือกที่จะให้สุนัขของพวกเขาสวมใส่ เพื่อให้การเข้าถึงสาธารณะเกิดปัญหาน้อยที่สุด

ไม่ว่าคุณจะได้พบปะกับสุนัขทำงานประเภทใด ห้ามมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลโดยเด็ดขาด กรุณาอย่าโกรธเคืองหากผู้ดูแลขอไม่ให้คุณพูดคุยหรือลูบคลำสุนัขของพวกเขา โดยเฉพาะสุนัขบริการซึ่งพวกเขามีงานที่ต้องทำ และเราไม่ควรดึงความสนใจของสุนัขเหล่านั้นออกไปจากการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขา

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการฝึกสุนัข หรือปัญหาพฤติกรรม โปรดติดต่อ 091 654 1960 อีเมล info@k9pointacademy.com เข้าชมเว็บไซต์ที่ www.k9pointacademy.com CPA เป็นองค์กร K9 แห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจากสภารับรองสำหรับผู้ฝึกสอนสุนัขมืออาชีพ (CCPDT) และในฐานะที่เป็นผู้ประเมินมาตรฐานสมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Kennel Club (AKC)

เรื่อง: Russell D Russell/ข่าวภูเก็ต: แปล

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่