พิพัฒน์แถลงความสําเร็จนําร่องวิลล่าควอรันทีน มั่นใจเรียกความเชื่อมั่นท่องเที่ยว

ภูเก็ต - วันที่ 10 มีนาคม 2564 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (รมว.กก.) นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แพทย์หญิงวลัยรัตน์ ไชยฟู รักษาการนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ นายวรสิทธิ อิสสระ กรรมการผู้จัดการโรงแรมศรีพันวา ภูเก็ต พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงความสําเร็จของโครงการนําร่อง Villa Quarantine

เอกภพ ทองทับ

วันพฤหัสบดี ที่ 11 มีนาคม 2564, เวลา 10:12 น.

ในพื้นที่โรงแรมศรีพันวา ซึ่งได้รับนักท่องเท่ียวกลุ่มแรก จํานวน 58 คน และผลการดําเนินงานเป็นที่น่าพอใจ พร้อมต่อยอดไปยังผู้ประกอบการ ที่สนใจ ณ โรงแรมศรีพันวา จังหวัดภูเก็ต

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. ร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จังหวัดภูเก็ต และโรงแรมศรีพันวา จัดทําโครงการนําร่องวิลล่าควอรันทีนในพื้นท่ีโรงแรมศรีพันวา โดยรับนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางท่องเที่ยวจากประเทศอินโดนีเซียมายังประเทศไทย ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลํา จํานวน 58 คน ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา และได้รับหนังสือ รับรองการกักกันครบตามระยะเวลาที่กําหนดเรียบร้อยแล้ว พร้อมเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นถึงระบบการจัดการด้านสาธารณสุขของประเทศไทยให้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนในพื้นที่ เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวคร้ังสําคัญ

นายณรงค์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต มีความพร้อมในการเปิดรับ นักท่องเท่ียวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ยังคงชื่นชอบความสวยงามของทะเลและอยาก เดินทางมา ซึ่งมีมาตรการเพื่อรองรับและสร้างความเช่ือมั่นให้กับคนท้องถิ่นและนักท่องเท่ียวอย่างรัดกุม รอบคอบ ได้แก่ ช่องทางอากาศ ผ่านทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต โดยใช้มาตรการ ALQ (Alternative State Quarantine) และ OQ (Organizational Quarantine/Villa Quarantine) สําหรับผู้เดินทางที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการ ท่องเท่ียวหรือพํานักระยะยาว เป็นสถานที่กักกันตัว เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ช่องทางเรือ จุดจอดเรือชั่วคราวอ่าวปอ โดยใช้มาตรการ AYQ (Alternative Yacht Quarantine) สําหรับผู้เดินทางที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเท่ียวหรือพํานักระยะยาวโดยใช้สถานท่ีบนเรือสําราญ เรือยอช์ท เป็นสถานที่กักกันตัวเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน เช่นกัน 

นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมท่ีได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นโรงแรม ALQ 24 โรงแรม และโรงแรมที่ได้รับการตรวจ ประเมินมาตรฐานขึ้นทะเบียน OQ 1 โรงแรม ทั่วเกาะภูเก็ต รวม 2,752 ห้อง โดยมีโรงพยาบาลคู่สัญญาทั้งภาครัฐและ เอกชน ที่เข้าร่วมโครงการ 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ โรงพยาบาลมิชช่ัน ภูเก็ต โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลป่าตอง โรงพยาบาลถลาง โรงพยาบาลฉลอง โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต สําหรับตรวจหาเชื้อโควิด-19 ระหว่างกักกันและกรณีหากเกิดอาการป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญา นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตยังรองรับ AHQ (Alternative Hospital Quarantine) สําหรับกักกันผู้ป่วยทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล เอกชนท่ีกําหนด ซึ่งต้องมีการนัดหมายไว้แล้วล่วงหน้ากับ โรงพยาบาล มีทั้งหมด 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต และโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตมีผู้เดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรและเข้ารับการกักกันที่โรงแรม ALQ ยอดสะสมทั้งสิ้น 252 ราย โดยอยู่ระหว่างกักตัวตามมาตรการ 14 ราย และกักตัวบนเรือ AYQ ยอดสะสมทั้งสิ้น 118 ราย อยู่ระหว่างกักกันบนเรือ 19 ราย และกักกัน ท่ี OQ 58 ราย ซึ่งครบระยะเวลากักตัวตาม มาตรการแล้วทั้งหมด 

อีกทั้ง จังหวัดภูเก็ต ยังมีแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 จํานวน 68,000 โดส (34,000 คน) แบ่งเป็น 3 ระยะ ต้ังแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ซึ่งฉีดให้กับบุคลากรแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย ร้านยา คลินิกทันตกรรม อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ที่มีโรคประจําตัว สถานประกอบการท่ี เก่ียวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม มัคคุเทศก์ การท่องเที่ยว สถานบันเทิง ร้านนวด สปา ร้านสะดวกซื้อ และ ภาคประชาชนทั่วไป

นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ททท. ได้รับอนุญาตจากกรมควบคุมโรค ให้ดําเนินการร่วมกับบริษัท ศรีพันวา แมเนจเมนท์ จํากัด (ผู้บริหารโรงแรมศรีพันวา) เป็นสถานท่ีกักกันซึ่งทางราชการกําหนดรูปแบบ เฉพาะองค์กร (Organizational Quarantine: OQ) ประเภท ข. ในลักษณะ Villa Quarantine พร้อมกําหนดให้ ททท. เป็นผู้ติดตาม กํากับ และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ บริษัท ศรีพันวาฯ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และให้ดําเนินการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคแบบเฉพาะอย่างเคร่งครัด โดยกักกันไม่น้อยกว่า 14 วัน

ทั้งนี้ใน 5 วันแรก ห้ามนักท่องเท่ียวออกนอกห้องพัก จนกว่าจะได้รับการตรวจ Swab ครั้งที่ 2 (Day 5) และไม่พบเชื้อ จึงจะสามารถออกมาทํากิจกรรมแบบผ่อนคลาย โดยไม่สัมผัสตัวกันท้ังกลุ่มประเทศเดียวกัน และระหว่างประเทศ (ท้ัง Direct and Indirect Contact) มีการวางแผนการทํากิจกรรม พร้อมจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) ในด้านต่าง ๆ และ SOP กิจกรรมที่สามารถดําเนินการได้ ภายใต้มาตรการการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ 5 กิจกรรม คือ การใช้ห้องอาหาร (อาหารกลางวัน และอาหารเย็น) เทนนิส ฟิตเนส ชายหาด และการเดินภายในบริเวณที่กําหนด

โดยเน้นมาตรการ “สวมหน้ากาก อนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล” กําหนดพื้นที่สําหรับการพักและจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน (bubble area) โดยแบ่งเป็นพื้นท่ีภายในพื้นที่กักกัน (พื้นที่สีแดง / in-bubble) และภายนอกพื้นที่กักกัน (พื้นที่สีเขียว/out-bubble) ในส่วนของพนักงานของโรงแรมศรีพันวาที่ให้บริการนักท่องเท่ียวโดยตรง และผู้ติดตามทางการแพทย์และควบคุมโรค (Observation Team for Disease Prevention : OTDP) เป็นผู้ถูกกักกันร่วม (อยู่ใน Bubble) จํานวนรวม 150 คน

แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวจํานวน 58 คน และพนักงานโรงแรมศรีพันวาและทีมงานจํานวน 92 คน นอกจากนี้ ยังมีส่วน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ทําหน้าที่กํากับดูแล และพนักงานของโรงแรมศรีพันวา ในส่วนสนับสนุนการบริการ จะ ทํางานภายนอกพ้ืนที่กักกันและจัดให้มีกลไลการติดตามประเมินผลการทํางานรายวัน โดยกําหนดประชุมผ่านระบบ ออนไลน์ (Zoom) ร่วมกันระหว่างทีมสังเกตการณ์ภายใน (COVID Manager & Team + OTDP) และทีมสังเกตการณ์ ภายนอก ซึ่งติดตามผ่านกล้อง CCTV (สสจ. สคร. ททท. ส่วนกลาง ททท. สํานักงานภูเก็ต) ทุกวันในเวลา 13.00 น.

ท้ังนี้ เมื่อนักท่องเท่ียวกลุ่มดังกล่าว ได้รับหนังสือรับรองการกักกันครบตามระยะเวลาที่กําหนดเรียบร้อยแล้ว ได้วางแผนที่จะอยู่ในประเทศไทยอีกประมาณ 1 เดือน โดยยังคงพักอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และมีความสนใจเดินทาง ท่องเที่ยวไปยังจังหวัดพังงา กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา และเชียงใหม่ คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย จํานวนไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท จากความสําเร็จของการดําเนินการ Villa Quarantine ในครั้งนี้ จะสามารถนํามาปรับ ใช้กับผู้ประกอบการท่ีมีความพร้อม รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ตลอดจนเป็นแนวทางในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย

นายพิพัฒน์กล่าวในตอนท้ายว่า สําหรับการเตรียมแนวทางในการ เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะเริ่มจากการจัดทํา Area Quarantine ในเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2564 โดยเริ่มนําร่องใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพงัน) เชียงใหม่ และชลบุรี (พัทยา) เนื่องจากเป็นจังหวัดท่องเท่ียวหลักที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในระยะยาว 1-3 เดือน และยังได้ผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ พนักงานโรงแรมและบริการท่องเที่ยวใน 4 จังหวัดท่องเที่ยว หลัก ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี (พัทยา) สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ จํานวน 50,000 โดส 

โดยจะฉีดให้พนักงานโรงแรมที่เข้า ร่วมเป็น Area Quarantine ก่อน และมีแผนในการจัดหาวัคซีน ล็อตสองท่ีจะเข้ามายังประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ขอให้กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรวัคซีนจํานวน 5 ล้านโดส สําหรับประชากร 2.5 ล้าน คนใน 5 จังหวัดท่องเที่ยวหลัก จังหวัดกระบี่ และ 4 จังหวัดข้างต้น เพื่อเตรียมมาตรการท่องเที่ยวแบบ Vaccine Passport ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำที่ได้รับวัคซีนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่น และทําให้อุตสาหกรรมท่องเท่ียวได้ฟื้นตัวอย่างมั่นคง

 

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่