ม.ราชภัฏภูเก็ต MOU จ.ภูเก็ต และองค์กรพันธมิตร ร่วมมือพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.

ภูเก็ต - สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏภูเก็ต จัดพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) “การดำเนินงานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา ” โดยมี นายธัญญวัฒน์ ชาญพินิจ รองผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต เป็นประธาน

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม 2562, เวลา 09:16 น.

ร่วมด้วย ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต ดร.ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย ดร.อทิพันธ์ เสียมไหม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ตลอดจน ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน บุคลากร นักศึกษา และผู้ประกอบการสินค้าวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอันดามัน ม.ราชภัฏภูเก็ต

ดร.ดวงรัตน์ กล่าวว่า “ม.ราชภัฏภูเก็ต ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษาสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบการมีส่วนร่วม ประจำปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานสืบสานพระบรมราโชบายสู่การพัฒนาท้องถิ่นและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในการพัฒนาศักยภาพการบริการวิชาการที่ตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงพันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและวิจัยในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย

1. โครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในท้องถิ่น มี 4 กิจกรรม คือ โครงการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง / โครงการอบรมสร้างอาชีพเพื่อมีรายได้เสริมแก่ประชาชนไทยใหม่ ต.ราไวย์ และ ตำบลเกาะสิเหร่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต / โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนเพื่อบูรณาการการท่องเที่ยวโดยชุมชน / โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะชุมชน ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และ ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต / กิจกรรมศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ดำเนินการจัดการฝึกอบรมค่ายฐานการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Learning by doing Camp) ในหลักสูตร ‘การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง’ 5 วัน 4 คืน ให้กับประชาชน จ.ภูเก็ต จำนวน 100 ครัวเรือน และต่อยอดการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและจัดหาตลาดให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมในรูปแบบตลาดนัดธรรมชาติ ได้แก่ เครือข่ายเดือนอันดามัน สร้างอาชีพเพาะเลี้ยงไส้เดือนและผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน และการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน / เครือข่ายมัดย้อมสีธรรมชาติ สร้างอาชีพผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ / เครือข่ายเกษตรสุขภาพ ปลูกพืชปลอดสารพิษด้วยหลักกสิกรรมธรรมชาติ / เครือข่ายคนรักษ์แม่ธรณี ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักจุลินทรีย์ / เครือข่ายคนมีน้ำยา ทำน้ำยาอเนกประสงค์ แชมพู และสบู่สมุนไพร / การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอันดามัน เพื่อเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมศาสตร์พระราชาให้กับประชาชนใน จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ และจัดกิจกรรม ‘ออกปากซอแรงสามัคคี’ เป็นประจำทุกเดือน เพื่อบูรณาการนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ โดยนำนักศึกษาและอาจารย์เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ผ่านการฝึกอบรม ในนามจิตอาสาซอแรงอันดามัน ลงพื้นที่ที่มีการนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติเป็นต้นแบบแก่ชุมชน และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

และ 2. โครงการยกระดับสินค้าชุมชน OTOP มี 5 ผลิตภัณฑ์ดังนี้ ผลิตภัณฑ์น้ำพริกพันวา / ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรจากส้มควาย / ผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตพร้อมดื่มนมแพะ / ผลิตภัณฑ์กลุ่มรักษ์บาติก /ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับโครงการที่ 3. คือโครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านออก การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนที่เข้าร่วมจาก อ.ถลาง อ.กะทู้ และ อ.เมืองภูเก็ต รวม 18 โรงเรียน ดังนี้ รร.บ้านเกาะสิเหร่ / รร.บ้านกู้กู / รร.บ้านสาคู / รร.บ้านทุ่งคาฯ / รร.บ้านเกาะมะพร้าว / รร.บ้านแหลมพันวา / รร.บ้านอ่าวน้ำบ่อ / รร.วัดวัดสว่างอารมณ์ / รร.วิชิตสงคราม / รร.วัดศรีสุนทรฯ / รร.บ้านบางเทา / รร.บ้านเก็ตโฮ่ / รร.บ้านโคกวัดใหม่ / รร.บ้านบางโรง / รร.บ้านเกาะนาคา /รร.บ้านท่าฉัตรไชย / รร.บ่านหงส์หยกบำรุง / รร.บ้านหมากปรก / รร.วัดมงคลวราราม

ด้านนายธัญญวัฒน์ ได้กล่าวถึงการร่วมมือในครั้งนี้ว่า “จังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกับ ม.ราชภัฏภูเก็ต และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ ท้องถิ่น จ.ภูเก็ต / สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต / สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต / หอการค้า จ.ภูเก็ต / สมาคมธุรกิจโรงแรมภาคใต้ / พัฒนาการ จ.ภูเก็ต / สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต / บริษัทประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต / สภาอุตสาหกรรม จ.ภูเก็ต / และสมาคมสปาภูเก็ต ร่วมลงนาม MOU เพื่อดำเนินงานพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนใน จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นการต่อยอดจากฐานที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานพัฒนา สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงนำองค์ความรู้ทางวิชาการลงไปช่วยแก้ไขปัญหาและสนับสนุนด้านการศึกษา รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ซึ่งแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นปราชญ์แห่งการพัฒนาท้องถิ่น สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ทัศนคติที่ดี มีอาชีพที่มั่นคง และเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่จริง เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทยตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่ง จ.ภูเก็ต สนับสนุนโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงต่อไป”

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่