มองไปข้างหน้าเพื่อมุ่งสู่อนาคตอันสดใส

การศึกษา - ช่วยบุตรหลานของท่านเตรียมตัวสําหรับช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในชั้นมัธยมปีสุดท้าย “ถ้าคุณคือ ผู้ปกครองของ นักเรียนที่กําลัง เรียนมัธยมปี สุดท้าย นี่คือเวลาสําคัญสําหรับคุณและครอบครัวของคุณ”

ข่าวภูเก็ต

วันอาทิตย์ ที่ 3 ธันวาคม 2560, เวลา 13:00 น.

ที่โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต (BISP) เราตระหนักถึงความสําคัญของการให้ความช่วยเหลือนักเรียนของเราในทุกมิติ ในฐานะที่ปรึกษาในการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เราไม่ใช่แค่ช่วยให้นักเรียนเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมที่สุด แต่เรายังประสานงาน กับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการจบการศึกษาจาก BISP สู่ รั้วมหาวิทยาลัยหรือการทํางานจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะ เป็นได้

ไม่ว่าบุตรหลานของท่านจะเรียนที่โรงเรียนแห่งใด หากคุณ คือผู้ปกครองของนักเรียนที่กําลังเรียนมัธยมปีสุดท้าย นี่คือเวลาสําคัญสําหรับคุณและครอบครัว ไม่ว่าคุณอาจจะเคยผ่านเรื่องนี้มา ก่อนแล้วหรือนี่คือประสบการณ์ครั้งแรกของคุณ เพราะคุณอาจกลายเป็นคู่สมรสกําพร้าบุตรหลังจากที่ลูกของคุณไปเรียนต่อในระดับหาวิทยาลัย และไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มใดก็ ควรเตรียมความพร้อมเอาไว้สําหรับช่วงเวลาเหล่านี้

สําหรับนักเรียนส่วนใหญ่แล้ว เราจะพบว่ามีอยู่ 5 ระยะของช่วง “วงจรการเปลี่ยนแปลง”  ซึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างสุดโต่งใน แต่ละขั้น งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการตระหนักรู้ของวงจรแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และความเข้าใจ ว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติมากจะสามารถช่วยให้ครอบครัวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้

นักเรียนชั้นมัธยมปีสุดท้าย อยู่ในช่วงเวลาของ การมีส่วนร่วม (Involvement Stage) พวกเขาจะยุ่งอยู่กับกิจกรรมของทางโรงเรียนและมีความสุข กับการได้อยู่ที่โรงเรียน และในขณะเดียวกันที่ทาง มหาวิทยาลัยมีข้อเสนอมานักเรียนจะเริ่มจินตนาการถึงชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย พวกเขาจะ เริ่มมีระยะห่างของตัวเอง และนี่จะเป็นระยะที่ 2 นั่นก็คือ การจากลา (Leaving)

และเมื่อการจบการศึกษามาถึง ความเป็นจริง จะเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรม เมื่อพวกเขาต้องมองไปข้างหน้าเพื่อวางแผนชีวิตในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่พัก เลือกเมนูอาหารหรือรูมเมท พวกเขาอาจจะพยายามหลบเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องเผชิญหน้าทั้งหมดนี้ จนทําให้เกิดความรู้สึกว่ามันมากเกินไปและส่งผลให้อารมณ์เสียได้ ซึ่งอาจทําให้เป็นช่วงที่เกิดมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ อาจเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนและครอบครัว เนื่องจากตัวนักเรียนเองมีความกลัว หรือหวั่นวิตกภายในใจ พวกเขาอาจจะอยากมีใครสักคนอยู่ใกล้ๆ เลือกที่จะอยู่บ้านไม่ยอมออกไป ข้างนอก หรืออาจจะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม จงใช้ความอดทนทั้งกับตัวคุณเองและลูก

 เมื่อพวกเขาจบการศึกษาและวันหยุดช่วงปิดเทอมจบลง พวกเขาจะมาถึงจุดมุ่งหมายที่จะทําให้ รู้สึกว่าพวกเขาจะอยู่ในจุดสูงสุด จะตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ และผู้คนใหม่ๆ คุณอาจจะไม่ได้ยินข่าวคราวจากพวกเขามากนักในช่วงเริ่มต้นชีวิตใหม่นี้ แต่หลังจากนั้นประมาณ 4-6 สัปดาห์ เมื่อความแปลกใหม่ค่อยๆ หมดไป หลายสิ่งรอบตัวไม่ได้ดู น่าตื่นเต้นเหมือนเคยและไม่ได้ทําให้รู้สึกสนุกเหมือนก่อน นักเรียนจะรู้สึกคิดถึงบ้านและอาจจะถึงขั้นลังเลใจว่าตัวเองได้ตัดสินใจถูกแล้วหรือกับสิ่งที่กําลังเป็นอยู่ อารมณ์ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ใน ระยะที่ 4 คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (Transition)

โดยปกติแล้วหลังจากการหยุดพักยาวครั้งแรก และได้กลับมาสู่โลกของมหาวิทยาลัย พวกเขาจะเข้าสู่ช่วงระยะที่ 5 – การก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่ Entering) พวกเขาจะรู้สึกผ่อนคลายในหอพักหรืออพาร์ทเมนต์ใหม่ กลับมาเจอเพื่อนๆ และก็ได้ รู้ว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยมันไม่ได้แย่ไปเสียทั้งหมด แต่มันก็จะยังขึ้นๆ ลงๆ อยู่เรื่อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ มีนักเรียนจํานวนมากที่ไม่ได้เข้าสู่ช่วง ระยะสุดท้ายที่เรียกว่า “กลับคืนสู่ความสัมพันธ์” Reinvolvement จนกระทั่งพวกเขาขึ้นปีที่สอง

การเตรียมตัวของคุณและลูกให้พร้อมด้วยการทําความเข้าใจความเป็นไปเหล่านี้ คือการเพิ่มโอกาสในการรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ อย่างราบรื่น ก่อนที่พวกเขาจะจบการศึกษาโปรด ส่งเสริมให้บุตรหลานของท่านได้กล่าวคํา “ขอบคุณ”  ต่อบุคคลที่มีส่วนช่วยผลักดันพวกเขาในระหว่างที่พวกเขาใช้เวลาอยู่ในรั้วโรงเรียน

ที่โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต (BISP) พวกเราได้ขอให้นักเรียนของเราพูดคุยกับผู้ปกครองถึงเรื่องแหล่งเงินทุน การซักผ้ารีดผ้า และการทําอาหารง่ายๆ และด้วยการทํางานร่วมกันนี้เอง ทําให้เราเชื่อมั่นเหลือเกินว่าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของนักเรียนมัธยมสู่ชีวิตในมหาวิทยาลัยนั้น จะเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นมากที่สุด

 บทความ โดย แจ็คกี้ เบรล์สฟอร์ด ที่ปรึกษาด้าน การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ บริติช ภูเก็ต (BISP University Counsellor Jacqui Brelsford)

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่