ศัตรูตัวร้ายในสวนของคุณ

“แมลง” มีอยู่ทั่วไป ซึ่งหากเราจะบอกว่าพวกมันมีมากกว่าหนึ่งล้านสายพันธุ์ที่ต่างก็มีลักษณะที่แตกต่างกันก็ยังอาจจะดูน้อยไปด้วยซ้ำ และในขณะที่สัตว์ขาปล้องส่วนใหญ่กำลังลดจำนวนลง จากการตกเป็นเหยื่อของยาฆ่าแมลงและการสูญเสียหรือพลัดถิ่นที่อยู่

Patrick Campbell

วันเสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2566, เวลา 12:00 น.

อย่างไรก็ตาม คนสวนทั่วไปในภูเก็ตต่างก็จะทราบกันเป็นอย่างดีว่า สัตว์ตัวร้ายเหล่านี้ยังคงแฝงตัวอยู่ทุกหนทุกแห่งในแปลงดอกไม้และแปลงผัก แม้ว่าแปลงพืชผักเหล่านั้นจะได้รับการดูแลอย่างดีก็ตาม

แต่การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงโดยไม่เลือกปฏิบัตินั้นก็ไม่ใช่คำตอบ เพราะแมลงผสมเกสรอย่างเช่น ผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ ซึ่งพวกเราไม่สามารถอยู่รอดได้หากไม่มีพวกมัน แมลงชนิดอื่น ๆ ที่เป็นผู้ล่าตามธรรมชาติ เช่น แมลงปอ แมลงช้างปีกใส ตั๊กแตนตำข้าว และเต่าทอง ต่างก็จัดการกับเหยื่อของพวกมันที่เป็นเหล่าตัวร้ายอยู่แล้ว ซึ่งทั้งแมลงผสมเกสรและผู้ล่ามีประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์

แมลงตัวร้ายส่วนใหญ่เป็นมังสวิรัติที่กินหน่อและใบไม้อันล้ำค่าของพวกเรา แต่พวกที่สร้างผลกระทบหนักที่สุดคือพวกที่กัดหรือต่อยมนุษย์และสามารถแพร่โรคได้ ในเรื่องนี้ศัตรูอันดับหนึ่งของเราก็คือยุง เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อคนเราโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มียุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ซึ่งตัวเลขของผู้ป่วยมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศโดยรวมมีผู้ป่วยมากกว่า 46,000 รายในปี 2565 และการเพิ่มขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไป และการมีอยู่ของแอ่งน้ำทั่ว ๆ ไป ซึ่งเอื้อต่อการเพาะพันธุ์ของยุงลาย แต่น่าแปลกที่โรคมาลาเรียซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 600,000 คนในแต่ละปีนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จักเลย

การที่ถูกยุงหรือสัตว์เล็กกัดนั้นก็เหลือจะทนแล้ว แต่ยิ่งถ้าคุณมีการแพ้ร่วมด้วยก็จะยิ่งแล้วใหญ่ ยุงตัวเมียเป็นตัวดูดเลือด (ตัวผู้กินละอองเกสรดอกไม้โดยไม่เป็นอันตราย) ด้วยความจำเป็นในการต้องถ่ายเลือดเพื่อไปเลี้ยงไข่ที่พวกมันจะไปวางไข่ในแหล่งน้ำในภายหลัง หลังจากเจาะผิวหนังของคนด้วยปากอันแหลมคมของมันแล้ว ก็จะฉีดน้ำลายต้านการแข็งตัวของเลือดซึ่งช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้น ของเหลวชนิดนี้จะขยายเส้นเลือดฝอยของเรา และทำให้เกิดอาการบวมและระคายเคืองตามมา

ในฐานะชาวสวน พวกเราเองก็มีมาตรการที่จะสามารถป้องกันได้อยู่เหมือนกัน อาทิ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำนิ่ง (เช่น ปลา สระบัว หรือแจกันบัว) มีปลาอาศัยอยู่ แม้แต่พันธุ์เล็ก ๆ เช่น ปลาหางนกยูงหรือปลาหางดาบก็จะกลืนไข่หรือตัวอ่อนของยุงทันที หรือสัตว์นักล่าตามธรรมชาติอื่น ๆ ได้แก่ นกกินแมลง และแมลงขนาดใหญ่ เช่น แมลงปอ แมงมุม และตั๊กแตนตำข้าว ผมเคยเจอหนอนผีเสื้อเหยี่ยวยี่โถ (มอธชนิดนึง) เข้ามารบกวนมากินใบดอกพุดขาวของผมจนเกลี้ยง และเมื่อนกกะปูดท้องถิ่นมาพบกับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารและการเก็บเกี่ยวเข้า มันก็ทำให้เรื่องราวนี้เดินมาถึงตอนจบ – อย่างน้อยก็เรื่องหนอนผีเสื้อ...

พยายามหลีกเลี่ยงการทำสวนในตอนเช้าตรู่หรือก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เพราะมี ’มอซซี’ คอยด้อม ๆ มอง ๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีร่มเงาทึบและพืชพรรณเขียวชอุ่ม สวมอุปกรณ์ป้องกันผิวหนังที่จะมีการสัมผัส ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้ผลนานหลายชั่วโมง ถึงแม้จะมีฤทธิ์อ่อน เช่น ตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส หรือสะเดา ก็เป็นสารยับยั้งที่มีประโยชน์ ใส่เท้าและข้อเท้า เพราะระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ดึงดูดแมลงจะสูงกว่าในจุดเหล่านี้ของร่างกาย ยุงมีประสาทสัมผัสกับกลิ่นเท้าที่เหม็น นอกจากนี้มันยังดึงดูดศัตรูทางธรรมชาติอย่าง นก จิ้งเหลน และจิ้งจก

หากยุงเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของชาวสวนหรือคนรักการทำสวน สัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็นับว่าเป็นตัวที่สร้างความน่ารำคาญได้พอ ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น มด พวกมันมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งโลกนี้ โดยได้ตั้งอาณานิคมทุกส่วนของแถบโลกแอนตาร์กติกา ส่วนที่นี่ ณ พื้นที่เขตร้อน ซึ่งพวกมันสามารถกัดและต่อยได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะมดทอผ้าที่สร้างรังใบไม้บนต้นไม้ หรือมดดำตัวใหญ่ที่ผสมพันธุ์ใต้ดินหรือในจานรองฐานกระถางดอกไม้ที่มีลักษณะเป็นสเปรย์กรดฟอร์มิก

ถามว่าอะไรทำให้มดเป็นปัญหามากกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งแตกต่างจากยุง มดเป็นสัตว์สังคมที่มีอาณานิคม การปกป้องของพวกมันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจนมีศัตรูตามธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิด แม้แต่แมงมุมก็ไม่กล้าเข้าใกล้ป้อมปราการเหล่านี้ซึ่งมีมดทหารคอยควบคุมอยู่ แต่สิ่งที่น่ารำคาญหลักสำหรับคนทำสวนก็คือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง แมลงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้กินน้ำเลี้ยงพืชอย่างทำลายล้างและผลิตสารหวานที่เรียกว่าน้ำหวาน ซึ่งมดจะให้ความช่วยเหลือ ในทางกลับกันมดก็มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพ โดยที่มดเหล่านี้ได้รับการปกป้องจากสัตว์นักล่า เช่น เต่าทอง ส่วนพืชที่อ่อนแอจากการโจมตีของความร่วมมือดังกล่าวมักจะเกิดโรคเชื้อราหรือตายไปในที่สุด


น่าแปลกที่ทั้งยุงและมดไม่ได้อยู่ในรายชื่อแมลงที่ขึ้นชื่อว่าน่ากลัวหรือน่ารังเกียจที่สุด แต่กลับกลายเป็นแมงมุม จริงอยู่ในธรรมชาตินั้นมีแมงมุมมีพิษอยู่หลายชนิดโดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย และในอาณาจักรนี้ทารันทูล่าสีดำและแม่ม่ายสีน้ำตาลก็มีสัตว์กัดต่อยที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่โดยความสมดุลแล้วพวกมันเป็นพันธมิตรของชาวสวนโดยการกินยุงและแมลงวันซึ่งติดอยู่กับใยของพวกมัน นับเป็นการควบคุมทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์...

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าผู้หญิงมากถึง 50% เป็นโรคกลัวแมงมุม มีอาการหวาดกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง...

หนังสือ ‘The Tropic Gardener’ โดย Patrick Campbell ได้รับการพูดถึงในบทวิจารณ์กรุงเทพฉบับหนึ่งว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการจัดสวนไทยในรอบ 50 ปี จำหน่ายในราคา 500 บาท (ครึ่งราคา) สำหรับผู้ติดต่อส่วนตัว 59/84 ซอยใสยวน 13 ตำบลราไวย์ (โทร. 076- 61227 หรือ 085-7827551)

ข่าวภูเก็ต: แปล

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่