สธ.เตือนประชาชนเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ ไม่เสี่ยงโรคแอนแทรกซ์

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 68 (เวลา 14.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 1 ราย สะสมรวม 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย อยู่ระหว่างรักษา 2 ราย อีก 98 ราย ยังเฝ้าระวัง โดยกรมควบคุมโรค และทีมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรค และดำเนินมาตรการป้องกันการควบคุมโรคในพื้นที่อีกทั้ง

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2568, เวลา 11:00 น.

ภาพ จุฑารัตน์ เปลรินทร์

ภาพ จุฑารัตน์ เปลรินทร์

ประกาศอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ได้ห้ามฆ่าสัตว์ โดยเฉพาะ โค กระบือ ในห้วงงานบุญประเพณีบุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) ทุกกรณี ให้กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงลักษณะอาการของการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ เพื่อป้องกัน การแพร่ระบาด

โดยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 68 ปศุสัตว์อำเภอดอนตาล ได้ทำการฉีดวัคซีน โค กระบือ และแพะในพื้นที่ จึงห้ามไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ ที่มีการฉีดวัคซีนทำการฆ่าหรือชำแหละโค กระบือ และแพะ ในเวลา 21 วัน นับตั้งแต่มีการฉีดวัคซีน “โรคแอนแทรกซ์” เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ สัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือตายผิดปกติ ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตะหนก สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก และล้างมือ ชำระล้างร่างกายหลังสัมผัสสัตว์

อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรค เตือน ประชาชนเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ดิบ หลังพบผู้เสียชีวิต “โรคแอนแทรกซ์” 1 ราย แต่ “อย่าตื่นตระหนก”

(1 พ.ค. 68) นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) 1 ราย ในจังหวัดมุกดาหาร ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 53 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน อาชีพรับจ้างก่อสร้าง เริ่มมีตุ่มแผลขึ้นบริเวณมือข้างขวา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล วันที่ 27 เมษายน 2568 ด้วยอาการแผลที่มือเริ่มมีสีดำชัดเจนขึ้น ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ข้างขวาโต มีอาการหน้ามืด ชักเกร็ง และเสียชีวิตในวันที่ 30 เมษายน 2568 ขณะเข้ารับการรักษาแพทย์สงสัยโรคแอนแทรกซ์ จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันบำราศนราดูร ผลพบเชื้อ Bacillus anthracis

BAAN KRU JAY INTERNATIONAL KINDERGARTEN

จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นคาดว่า ปัจจัยเสี่ยงมาจากการชําแหละโคในงานบุญผ้าป่า และมีการนำเนื้อโคที่ชําแหละไปแจกจ่ายให้รับประทานกันภายในหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ร่วมกับทีมสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และทีมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคเบื้องต้นพบผู้สัมผัสจำนวน 247 คน แบ่งเป็นผู้ที่ชำแหละโค 28 คน และผู้ที่บริโภคเนื้อโคดิบ 219 คน ได้ให้ยาในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง อยู่ระหว่างดำเนินมาตรการป้องกันการควบคุมโรคในพื้นที่

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422



 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่