เสด็จสู่ฟ้าสุราลัยพระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยตลอดกาล

ปี ๒๕๕๙ นับเป็นปีแห่งความเศร้าโศกของประเทศ เมื่อต้อง จารึกไว้ว่า ในวันที่ ๑๓  ต.ค. ๒๕๕๙ เวลา ๑๙.๐๐ น. สํานัก พระราชวังออกแถลงการณ์ที่ทําให้ทราบว่า ประเทศไทยได้สูญเสีย “พ่อของแผ่นดิน” เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จสวรรคต สิริพระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๘๙ ทรงครอง สิริราชสมบัติได้ ๗๐ ปี ภายหลังที่พระองค์เสด็จพระราชดําเนินมา ประทับรักษาพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นเวลากว่า ๒ ปี

โพสต์ทูเดย์

วันอาทิตย์ ที่ 22 ตุลาคม 2560, เวลา 15:00 น.

นับเป็นการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ที่คนไทยทุกหมู่เหล่าไม่อยาก จะให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 

ก่อนหน้าวันที่ ๑๓ ต.ค. ซึ่งถือเป็นวันมหาวิปโยคของคนไทย ปวงชนต่างพากันหลั่งไหลไปที่โรงพยาบาลศิริราช สถานที่ประทับ รักษาพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลายคนต่างสวดมนต์หลังทราบข่าวว่าพระองค์ทรงพระประชวรอย่างหนัก ขอพรที่สถิตอยู่ในโลกหล้าให้ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงปลอดภัย กระนั้นแม้คณะแพทย์ถวายการรักษา อย่างสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรได้ทรุดหนักตามลําดับ จนเสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น กษัตริย์ที่ทรงงานอย่างหนักนับแต่ได้ทรงขึ้นครองราชย์ ในทุกพื้นที่ ถิ่นฐานทุรกันดาร แม้จะห่างไกลเพียงใด แต่ไม่มีสถานที่ใดที่พระ องค์เสด็จฯ ไปไม่ถึง ทั้งหมดเพื่อให้พสกนิกรของพระองค์มีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยยิ่ง ในวัน ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคต ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลมายังที่โรงพยาบาลศิริราชตลอดสองข้างทางขบวนเคลื่อน พระบรมศพไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวัง คลาคลํ่าไปด้วยนํ้าตาและเสียงร้องไห้ รวมถึงประชาชนที่ทั่วประเทศที่ เดินทางมาถวายสักการะพระบรมศพเพื่อแสดงความอาลัยต่อการ จากไปของพระองค์อย่างไม่ขาดสาย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กําหนดวัน สําหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ วันถวายพระเพลิงพระบรมศพซึ่งเป็นวันสําคัญ ที่สุดของการพระราชพิธี กําหนดวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ 

รัฐบาลไทยจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เพื่อ ถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  ตามโบราณราชประเพณี ให้มีความพร้อมและงดงามสมพระเกียรติ “ประหนึ่งราชรถเคลื่อนบนหมู่เมฆส่งเสด็จสูสวรรค”  อันจะเป็นภาพความทรงจํา ที่จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของ ชาติไทย และของโลก 

งานจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นการรวมตัวของช้างศิลปกรรมประณีตศิลป ระดับฝีมือแขนงต่างๆ และจิตอาสาจากทั่วประเทศ รวมใจเป็นหนึ่ง มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีอาสาสมัครนับ ๓๐๐ ชีวิต รุ่นสู่รุ่น ทํางานครั้งสําคัญเพื่อถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ณ สํานักช้างสิบหมู่ กรมศิลปากร จ.นครปฐม 

 พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 

พระเมรุมาศในครั้งนี้ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราช ประเพณีรูปแบบเฉพาะสําหรับพระมหากษัตริย์ มีรูปแบบเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอน ๗ ชั้น ภายในตั้งพระจิตกาธานสําหรับประดิษฐานพระโกศจันทน์ ผังพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ยกพื้นสูงเป็นฐาน ๓ ชั้น ชั้นบนสุดมีมุมทั้งสี่มีซ่าง (ส้าง/สร้าง หรือสําช่าง) ทรงบุษบกยอดมณฑปชั้น เชิงกลอน ๕ ชั้น เป็นที่สําหรับพระพิธีธรรม ๔ สํารับ สวดพระอภิธรรมสลับกันไป ตั้งแต่เมื่อพระบรมศพประดิษฐานบนพระจิตกาธานจนกระทั่งถวายพระเพลิงแล้วเสร็จ ที่มุมฐานชั้นที่ ๒ ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมได้ ๙ ยอด ในครั้งนี้ พระเมรุมาศมีขนาดสูงใหญ่ลักษณะผังอาคารรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างด้านละ ๖๐ เมตร สูง ๕๐.๔๙ เมตร ตามระยะในแบบก่อสร้าง

 ผังพระเมรุมาศและมณฑลพิธี 

การออกแบบผังพระเมรุมาศ ออกแบบตามผังภูมิจักรวาล ปรัชญา และคติความเชื่อของไทย มีการกําหนดตําแหน่งจุด กึ่งกลางพระเมรุมาศซึ่งเปรียบเสมือนกึ่งกลางจักรวาลในครั้งนี้ คือ ใช้ตําแหน่งจุดตัดของแกนสําคัญ ๒ แกนคือ แกนทิศเหนือ-ใต้ ได้แก่ แนวแกนที่ขนานกับสนามหลวง ตรงไปยังยอดพระศรีรัตน เจดีย์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และแกนทิศตะวันออก-ตะวัน ตก ซึ่งตั้งฉากกับแนวแกนแรก ไปยังจุดศูนย์กลางพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

ภูมิทัศน์บริเวณด้านหน้าทางเขาทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ จัดภูมิทัศน์สะท้อนถึงพระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ แนวคิดในการออกแบบงานภูมิทัศน์ครั้งนี้ เน้นการจําลอง บรรยากาศเชิงสัญลักษณ์ และเลือกพืชพันธุ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ โครงการพระราชดําริ โดยเฉพาะที่นอกรั้วราชวัติทางทิศเหนือ หรือ ด้านทางเขาหลักของพระเมรุมาศ ได้ออกแบบเป็นบ่อแก้มลิง ติดตั้งกังหันชัยพัฒนา ฝายนํ้าล้น และจัดพื้นที่เป็นนาข้าว โดยขอบ คันนาได้ออกแบบเป็นเลขเก้าไทยสีดินทอง

การจัดสร้างประติมากรรมทั้งหมด เน้นความเชื่อเรื่องจักรวาล และเขาพระสุเมรุเป็นหลัก โดยในการจัดสร้างครั้งนี้มีความพิเศษที่จะมีการจัดสร้างประติมากรรมรูปคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขนาดเท่าตัวจริง เพื่อประดับพระเมรุมาศ จะมีการประดับในตําแหน่งใกล้กับพระบรมโกศ เพื่อสื่อให้เห็นถึงความผูกพันที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีต่อสุนัขทรงเลี้ยง 

 ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ

การอัญเชิญพระบรมศพจากพระมหาปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ หรืออัญเชิญพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศ มาสู่พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุหรือลอยพระอังคารตามโบราณกาลจะอัญเชิญด้วยขบวนพระราชอิสริยยศ ซึ่งเรียกว่า “ริ้ว ขบวน” โดยแต่ละริ้วขบวนมีคนหาม คนฉุดชักจํานวนมากพร้อมด้วยเครื่องประกอบพระอิสริยยศ 

การจัดริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีขบวนพระบรมราชอิสริยยศ จํานวน ๖ ริ้ว ขบวน โดยมีการบูรณะตกแต่งราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบ พระบรมราชอิสริยยศ เพื่อให้พร้อมสําหรับการอัญเชิญพระบรมศพ พระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร รวมทั้งซักซ้อมการเคลื่อนขบวนให้งดงามประหนึ่งราชรถ เคลื่อนบนหมู่เมฆส่งเสด็จสู่สวรรค์

 ริ้วขบวนที่ ๑ พระยานมาศสามลําคาน

 พระยานมาศสามลําคาน เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทําด้วยไม้จําหลักลวดลายลงรักปิดทองมีพนักโดยรอบ ๓ ด้าน และมี คานหาม ๓ คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลําคาน อยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ ๑ ใช้สําหรับอัญเชิญพระบรมโกศ (พระโกศทองใหญ่) จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง 

 ริ้วขบวนที่ ๒ พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถมีลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบก ทําด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้เพื่อการอัญเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๙ ต่อมาใช้อัญเชิญพระบรมโกศ พระมหากษัตริย์ และพระโกศพระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน 

 ริ้วขบวนที่ ๓ - ราชรถปืนใหญ่

ราชรถปืนใหญ่ เป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่ทรงรับราชการทหารเมื่อ ครั้งดํารงพระชนมชีพ แทนพระยานมาศสามลําคานตาม ธรรมเนียมเดิม จากพระบรมมหาราชวังหรือวังของพระบรมวงศ์ พระองค์นั้น ๆ สู่พระเมรุมาศ หรือพระเมรุ

 ริ้วขบวนที่ ๔ - พระที่นั่งราเชนทรยาน 

พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะเป็นทรงบุษบก ย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน ๕ ชั้น สร้างด้วยไม้ แกะสลัก ลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจังปฏิญาณแกะสลัก เป็นภาพ เทพนมไว้ตรงกลาง และมีรูปครุฑยุดนาคประดับที่ฐาน มีคานสําหรับหาม ๔ คาน ใช้คนหาม ๕๖ คน แต่เวลาปกติจะคงคานประจําไว้ ๒ คาน ใช้ในการเสด็จพระราชดําเนิน โดยขบวนแห่ อย่างใหญ่

 ริ้วขบวนที่ ๕ - พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย 

พระราเชนทรยานน้อย เป็นพระราชยานที่ใช้ในการ ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร เข้าสู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง พระราเชนทรยานน้อยมีลักษณะเป็นทรงบุษบก สร้างด้วยไไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ ขนาดกว้าง ๑๐๐ เซนติเมตร ยาว ๕๔๘ เซนติเมตร รวมคานหาม สูง ๔๑๔ เซนติเมตร มีคานสําหรับหาม ๔ คาน จํานวนคนหาม ๕๖ คน  

ริ้วขบวนที่ ๕ เชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานในบุษบก พระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้น ประดิษฐาน ณ พระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 

ริ้วขบวนที่ ๖ - ขบวนกองทหารม้า

ประกอบด้วยกองทหารม้าอิสริยยศ ซึ่งประกอบด้วยทหารม้า ๗๗ ม้า ซึ่งประกอบด้วย ทหารม้าอิสริยยศนํา และทหารม้าอิสริยยศตาม สําหรับทหารม้าอิสริยยศนําจํานวน ๔๔ นายได้แก่ หมู่แตร ๖ นาย ผู้บังคับกองทหารม้าอิสริยยศ ๑ นาย หมู่เชิญ ธงชัยเฉลิมพล ๔ นาย ผู้บังคับกองร้อยทหารม้าอิสริยยศนํา ๑ นาย ผู้บังคับหมวด ๒ นาย ทหารม้านํา ๓๐ นาย ส่วนกองทหารม้า อิสริยยศตาม ๓๓ นาย ได้แก่ ผู้บังคับกองร้อยทหารม้าอิสริยยศ ตาม ๑ นาย ผู้บังคับหมวด ๒ นาย ทหารมาตาม ๓๐ นาย ริ้วขบวนที่ ๖ ขบวนกองทหารม้าเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์ พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี ไปยัง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร

หมายกําหนดการพระราชพิธี

วันพุธที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐

เวลา ๑๗.๓๐ น. พระราชพิธีพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

เวลา ๐๗.๐๐ น. พระราชพิธีเชิญพระบรมศพจาก พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท ไปที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราช วรมหาวิหาร ก่อนเปลี่ยนขึ้นราชรถเชิญไปยังพระเมรุมาศ

เวลา ๑๗.๓๐ - ๒๒.๐๐ น. พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ

วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐

เวลา ๐๘.๐๐ น. พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ วันเสาร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐

เวลา ๑๗.๓๐ น. พระราชพิธีพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

วันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐

เวลา ๑๐.๓๐ น. พระราชพิธีบําเพ็ญพระราชกุศล และเชิญ พระโกศพระบรมอัฐิ ขึ้นประดิษฐานพระวิมานบนพระที่นั่งจักรี มหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมอัฐิพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาล

เวลา ๑๗.๓๐ น. พระราชพิธีบรรจุ พระบรมราชสรีรางคารเข้า ขบวนแห่อิสริยยศไปประดิษฐานยัง ๒ วัด คือ วัดราชบพิธสถิต มหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (ทั้ง ๒ วัดเป็นวัดประจํารัชกาลที่ ๙)

 

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่