เกาะเฮ เตรียมเฮ

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเตรียมหารือกับรัฐบาลเร่งผลักดันแนวทางปกป้องปะการังที่เกาะเฮ เร่งผลักดัน แนวทางปกป้องปะการัง เม.ย. นี้

ธัญลักษณ์ สากูต

วันเสาร์ ที่ 1 เมษายน 2560, เวลา 13:00 น.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเตรียมหารือกับรัฐบาลเร่งผลักดันแนวทางปกป้องปะการังที่เกาะเฮ นั้นคาดว่าจะให้เริ่มได้ภายในเดือนหน้า หากรัฐบาลอนุมัติ การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเป็นการมอบอำนาจให้กรมฯได้อนุรักษ์แนวปะการังจากกลุ่มนักท่องเที่ยวและธุรกิจทัวร์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เกาะเฮ เป็นเกาะทางตอนใต้ของชายฝั่งทะเลภูเก็ต ที่ได้รับความนิยมและได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากมายต่อวัน มาเป็นระยะเวลาหลายปี

นักวิจัยยืนยันว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนปะการังที่มีชีวิตลดลงเหลือเพียง 25% เท่านั้น

นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยืนยันกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มี.ค. ว่าตนจะเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีภายในไม่กี่สัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาตราที่ 22 จะทำให้กรมฯมีอำนาจมากขึ้นในการใช้มาตรการที่รุนแรงในการอนุรักษ์สิ่งที่เหลืออยู่ในแนวปะการังบริเวณรอบเกาะเฮ หากพบว่ามีใครฝ่าฝืนจะต้องโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับ 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เกาะเฮได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวมานาน และมีแนวโน้มว่าผลกระทบจะรุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นวิกฤต ทางกรมฯได้มีแผนดำเนินการที่จะคุ้มครองทรัพยากรแนวปะการังบริเวณเกาะเฮ โดยใช้ ม.22 แห่ง พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ใช้มาตรการควบคุมการท่องเที่ยวดำน้ำ โดยกำหนดวิธีการประกอบการธุรกิจดำน้ำมิให้เกิดผลระทบกับทรัพยากรแนวปะการัง 

กรมฯได้มีแผนที่จะใช้พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการควบคุมการท่องเที่ยวในพื้นที่และลดความเสี่ยงของการทำลายทรัพยากรทางทะเลที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6 ) กล่าวว่าการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องปะการังที่เกาะเฮได้ดำเนินการมานานแล้ว

“แรกเริ่มเลยผมอยากจะใช้พรบ.มาตรา 17 ในการปกป้องแนวปะการังรอบๆเกาะเฮก่อน และจากนั้นจะมีประชุมในเดือนธันวาคมเพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่รวมถึงบริษัททัวร์ ไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบการภายในพื้นที่และคนขับเรือหางยาวให้ได้เข้าใจกัน” นายวัชรินทร์ กล่าว

มาตรา 17 ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้บุคคลนั้นระงับการกระทำหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชาย
ฝั่งนั้นเป็นการชั่วคราวตามความเหมาะสม

“อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางสาวสุทธิลักษณ์ ต้องการให้ใช้มาตรา 22 และผมจะทำการปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกัน” นายวัชรินทร์ กล่าว

นายวัชรินทร์ได้เปรียบเทียบการเคลื่อนย้ายเพื่อปกป้องแนวปะการังที่เกาะเฮ กับปริมาณที่นำมายังเกาะไม้ท่อนนั้นเป็นเพียงแค่ระยะทางเล็กน้อยจากระยะทางหลายกิโลเมตร

“ผมไม่อยากให้เกาะเฮเป็นเหมือนเกาะไม้ท่อน ที่มีความนิยมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จนทำให้ปะการังในบริเวณนั้นถูกทำลายลงไปอย่างมาก ขณะนี้แนวปะการังเหล่านั้นถูกปิดให้เยี่ยมชม เพื่อปล่อยให้สิ่งมีชีวิตในน้ำตามธรรมชาติในบริเวณนั้นได้เกิดขึ้นใหม่” เขาอธิบาย

คำร้องที่จะยื่นให้ทางคณะรัฐมนตรีจะทำการรายงานโดย ดร.นลินี ทองแถม หัวหน้าทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้แบ่งแยกเจาะจงในการศึกษาปะการังตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน

“แนวปะการังในเกาะเฮนั้นถูกทำลายจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550” ดร.นลินี กล่าว

“เราได้ทำการบันทึกสภาพแวดล้อมปะการังตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด และในบริเวณเกาะเฮนั้นถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณอ่าวกล้วยและอ่าวใหญ่ ที่มีความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวค่อยข้างมาก กิจกรรมที่มนุษย์ทำในบริเวณนั้นส่งผลให้เกิดความเสียหาย เช่น การทิ้งสมอเรือลงบนแนวปะการัง การชมปะการังแบบ Try dives (นักท่องเที่ยวจะเดินบนปะการัง) และการทิ้งขยะลงในทะเล

“เมื่อเดือนพฤศจิกายน เราได้พบว่า มีแนวปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่เพียง 25% เท่านั้นภายในบริเวณ 0.44 ตร.กม.ที่เราได้ทำการจดบันทึกข้อมูล และศึกษาในระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา” ดร.นลินี อธิบาย

“เกาะเฮเคยเป็นศูนย์กลางของสิ่งมีชีวิตทางน้ำในพื้นที่นั้น ซึ่งประกอบด้วยปะการัง 20 -30 ชนิด แต่ในตอนนี้มีเพียง 4 ประเภทเท่านั้นที่เหลืออยู่ แนวปะการังบนเกาะเฮต้องการการคุ้มครอง” ดร.นลินี กล่าวกำชับ

นายวัชรินทร์ เน้นย้ำว่าอุปสรรคด้านหน่วยงานราชการต่างๆยังไม่ได้รับการอนุมัติ แต่คาดว่าขั้นตอนการคุ้มครองแนวปะการังจะเริ่มต้นในเดือนเมษายนนี้

“หลังจากคณะรัฐมนตรีได้ทำการอนุมัติการแล้ว เราจะต้องทำการส่งแผนที่รายละเอียด และคำอธิบายมาตรการการป้องกันไปยังคณะกรรมการราชการประจำจังหวัดภูเก็ต” นายวัชรินทร์ กล่าว

“การกำหนดขอบเขตการควบคุมจะประกอบด้วยการจำกัดจำนวนผู้เข้าเยือนเกาะเฮ และโซนต่างๆที่การชมปะการังแบบ try dives หรือ sea walk นั้นถูกห้ามโดยเด็ดขาด” นายวัชรินทร์ กล่าว

“หลังจากขั้นตอนการนำเสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการประจำจังหวัดภูเก็ตเสร็จสิ้น การ
นำเสนอจะต้องสอดคล้องกับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) แล้วจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการในการคุ้มครองพื้นที่บริเวณนั้นได้”

“ผมอยากให้ทุกท่านได้วางใจ และเชื่อมั่นว่าพวกเราพร้อมเดินหน้า และจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มที่” นายวัชรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่