ทำอย่างไรเมื่อ “ถูกฉลามกัด” 3 ขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อการเอาชีวิตรอดในทะเล เมื่อถูกฉลามทำร้าย

ดาเรน เจนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางทะเลระหว่างประเทศ หัวหน้าส่วนประเทศไทย สมาคมช่วยชีวิตเซิร์ฟนานาชาติ (International Surf Lifesaving Association: ISLA) หนึ่งในผู้ที่มีส่วนสำคัญในการดูแลความปลอดภัยทางทะเลสำหรับนักท่องเที่ยวบนชายหาดภูเก็ตมานานกว่า 8 ปี

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 23 พฤษภาคม 2565, เวลา 09:00 น.

ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นกรณี เด็กชายณภัทร ไชยารักษ์ คริสเตนโค อายุ 8 ขวบ ที่ถูกสัตว์น้ำทำร้ายบริเวณขาขวาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา จนเกิดเป็นบาดแผลฉกรรจ์ทำให้ต้องเย็บถึง 33 เข็ม

ซึ่งจากอาการบาดเจ็บจากสัตว์ทะเลทำร้ายในครั้งนี้ ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า บาดแผลดังกล่าวเกิดจากอะไรกันแน่ “ปลาสาก” หรือ “ฉลาม”? อย่างไรก็ตามดาเรนได้ระบุถึงเรื่องนี้ว่า นอกจากการถกเถียงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร หลายคนอาจจะลืมพูดถึง “บทเรียน” ในครั้งนี้ไปเสียสนิท เสมือนทุกอย่างถูกลืมและกลบฝังไว้ใต้พื้นทราย

รู้จักข้อเท็จจริง

โอกาสที่คุณจะถูกฉลามโจมตีขณะเพลิดเพลินกับความงดงามของมหาสมุทรทั่วโลก คือ 1 ใน 11.5 ล้าน และโอกาสตายจากการถูกกัดมีน้อยกว่า 1 ใน 264 ล้านต่อปี ตามรายงานของ International Shark Attack File โดยมหาวิทยาลัยฟลอริดา
ข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีของฉลามที่รับทราบทั้งหมดนั้นจะถูกรวบรวมไว้ใน “The International Shark Attack File” ซึ่งไฟล์นี้ได้รับการบริหารจัดการโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดาและสมาคม American Elasmobranch Society ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพของคนทำงานจากนานาชาติที่ศึกษาเรื่อง ปลาฉลาม ปลาสเกต และปลากระเบน เมื่อเทียบกับการจู่โจมของฉลาม นักท่องเที่ยวชายหาดทั่วไปมีโอกาสมากกว่าที่จะถูกฆ่าตายจากฟ้าผ่าถึง 75 เท่า และมีแนวโน้มที่จะจมน้ำตายในกระแสน้ำถึง 450 เท่า

“ในช่วง 8 ปีที่ผมทำงานดูแลความปลอดภัยบนชายหาดของภูเก็ต มีผู้ต้องสงสัยว่าถูกฉลามโจมตี 2 คน โดยมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีผู้เสียชีวิต 253 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 417 ราย จากเหตุการณ์จมน้ำในทะเล ซึ่งกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ณ ชายหาดของภูเก็ต”
ดาเรน กล่าว

เข้าใจพฤติกรรมนักล่า

ปลานักล่าในทะเลจะกัดด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการเอาตัวรอด คือ การล่าเหยื่อและเพื่อป้องกันตัวเอง ปลาสากหรือปลาบาราคูดาและฉลาม ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่มนุษย์เพื่อเป็นอาหาร หากเป็นกรณีนี้ คงมีผู้รอดชีวิตไม่มากนัก ทว่าจากข้อมูลสรุปของ Florida Museum Worldwide Shark Attack (USA) พบว่ามีเพียง 12% ของการโจมตีด้วยฉลาม โดยไม่ได้รับการยั่วยุจากมนุษย์ในปี 2564 ที่มีผู้เสียชีวิต

“ฉลามส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ผู้คนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารตามธรรมชาติของพวกมัน” National Oceanic and Atmospheric Association (USA) กล่าว เพื่อช่วยอธิบายเรื่องนี้ การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ยืนยันว่าฉลามสามารถเข้าใจผิดว่ามนุษย์เป็นเหยื่อตามธรรมชาติของพวกมัน เนื่องจากการมองเห็นไม่ดีและน้ำขุ่น
ซึ่งนี่เป็นคำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับเหตุการณ์ล่าสุดที่หาดกมลา เพราะน้ำที่หาดกมลามักจะขุ่น ซึ่งนำไปสู่กรณีของการเข้าใจผิดและเข้ากัด แต่การจู่โจมนั้นก็จบลงไปในทันที

ลดความเสี่ยง

เพื่อเป็นการลดความเป็นไปได้ที่จะถูกสัตว์ทะเลกัด ให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในน้ำขุ่นหรือในตอนรุ่งเช้าหรือช่วงโพล้เพล้, ห้ามว่ายน้ำใกล้ฝูงปลาหรือบริเวณที่ผู้คนกำลังตกปลา, งดเล่นน้ำใกล้แม่น้ำและคลองหลังฝนตกหนัก, ว่ายน้ำใกล้ไลฟ์การ์ด, งดใส่เครื่องประดับ, หลีกเลี่ยงการตีน้ำมากเกินไป, ว่ายน้ำกับเพื่อน และหากไม่มั่นใจ อย่าออกไปไหน

“ณ ตอนนี้คุณได้รู้จักข้อเท็จจริง ขอให้เข้าใจทะเล จงว่ายน้ำอย่างชาญฉลาด แล้วเพลิดเพลินไปกับชายหาดอันสวยงามของภูเก็ตอย่างปลอดภัย”

เรื่องโดย: Daren Jenner

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่